ในโลกที่เทคโนโลยี และองค์ความรู้ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว Half-life ของสิ่งที่เราเรียนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยสั้นลงจนแทบจะใช้ไม่ได้เมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน
ถามว่า
ทักษะอะไรที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในโลกปัจจุบัน หรืออนาคตอันใกล้นี้?
ถ้ามองสิ่งที่โรงเรียนสอน โดยเฉพาะในเมืองไทย เรายังเห็นว่าการศึกษาส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการ’ป้อน’ความรู้ หรือข้อมูล ที่ปัจจุบันหาได้เพียงไม่กี่ ‘คลิ๊ก’ บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีโอกาสล้าสมัยได้เร็วที่สุด มากกว่าทักษะที่ช่วยในการพัฒนาเพื่อการทำงานต่อในอนาคต
ผมอ่านเจอคำตอบเรื่องนี้จากส่วนหนึ่งของบทความ What Kids Need to Learn to Succeed in 2050 ซึ่งกล่าวถึง 4 ทักษะ (the four Cs) ซึ่งแนะนำโดย Partnership for 21st Century Learning, P21 ว่าคือ
1. Critical thinking
[youtube id=”rqQGQ6upics”]
ถ้าชอบเนื้อหานี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์
You cannot absorb other people’s knowledge. You must create your own.
– Klas Mellander
ผมมีโอกาสไปร่วมงานสัมมนาโต๊ะกลมหัวข้อ “LEARN OR LOSE in the age of digital disruption” ซึ่งจัดโดย ENPEO ร่วมกับ OMEGAWORLDCLASS โดย highlight อยู่ที่คุณ Klas Mellander co-founder และ Chief Designer ของบริษัท Celemi จากสวีเดน ซึ่งผมรู้จักผลงานผ่าน Business Simulation Board Game มาหลายปี ถือได้ว่าเป็นกูรูด้าน Learning Design คนหนึ่งของโลก
ในการสัมมนามีการพูดถึงการเรียนรู้ในโลกยุค Digital Disruption ที่ในด้านหนึ่ง คนทำงานก็มีเวลาน้อยลงสำหรับการเรียนรู้แบบ Formal Learning ซึ่งการงานวิจัยหนึ่งระบุว่า พนักงานมีเวลาเรียนเฉลี่ย 24 นาที / สัปดาห์ และอีกด้านหนึ่งเรากำลังเผชิญกับความรู้ และทักษะใหม่ๆ ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจนทำให้ Half-life ของทักษะต่างๆ ในปัจจุบันที่เราเรียนมาอยู่ที่ 5 ปี และกำลังลดลงเรื่อยๆ
Online vs. Offline Learning
หลายคนคงคิดว่า Digital Learning Platform เช่น eLearning, mLearning จะมาตอบโจทย์ปัญหาการเรียนรู้ในยุค digital disruption เพราะตอบโจทย์ในแง่การเรียนรู้เมื่อไหร่ก็ได้ (on-demand) และเป็นการเรียนตอนละสั้นๆ (Bite-size Learning) ไม่เสียเวลามาก ซึ่งเป็นข้อดี และเหมาะสำหรับการเรียนรู้ทักษะพื้นฐาน หรือ Functional Skill ในการทำงานส่วนใหญ่
แต่การเข้ามาของ Digital Learning Platform ก็ไม่ได้จะแทนที่ Classroom Training หรือ Workshop ที่เราคุ้นเคยได้ทั้งหมด เพราะการเรียนรู้ Human Skill หรือ Soft Skill เช่น ทักษะการสื่อสาร หรือทักษะการเป็นผู้นำ ถ้าจะเรียนรู้ให้ได้ผลดี จำเป็นต้องมีประสบการณ์ปฏิสัมพันธ์กัน (Human Interaction)
[Mentor Profile] Partner from Australia, Global HR Consulting
Me: เมื่อวานผมฟัง session ที่คุณพูดแล้วประทับใจมาก แม้จะเป็นเวทีใหญ่ที่คนฟัง 200 กว่าคน คุณก็เอาคนฟังอยู่ตลอด presentation ผมได้คุยกับลูกค้าหลายๆ คนหลังงานก็ฝากชมมาด้วย บอกว่าแม้จะบรรยายภาษาอังกฤษ แต่ก็ฟังรู้เรื่อง และเข้าใจง่าย ดูลื่นเหมือนเป็นนักพูดมืออาชีพมากๆ
Mentor: ขอบคุณสำหรับคำชม เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นทักษะที่ผมตั้งใจฝึก ผมมีโอกาสได้พูดกับคนฟังในประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ทำให้ผมยิ่งต้องระวังตัวเองมากขึ้น
Me: คุณต้องระวังเรื่องอะไรบ้างเหรอครับ?
Mentor: อย่างแรกเลยคือ ความเร็ว และ จังหวะในการพูด เพราะคนฟัง อาจไม่ถนัดภาษาอังกฤษ เหมือนภาษาแม่ของเขา ความเร็ว และจังหวะต้องช้าลงกว่าปกติ เพื่อให้คนฟังมีเวลาซึมซับ และย่อยประโยคที่ผมพูด คำที่ผมเลือกใช้จะเป็นคำที่เข้าใจง่ายๆ ในรูปประโยคที่กระชับ ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อ
Me: เห็นด้วยครับ แม้จะเป็นภาษาเดียวกัน ถ้าคน present ไม่ได้ระวัง พูดเหมือนคุยกัน 2-3 คน โอกาสที่คนฟังจะตามไม่ทันก็มีสูง นอกจากเรื่องความเร็ว และจังหวะในการพูดแล้ว มีเรื่องไหนที่คุณระวังอีกบ้างครับ (more…)
ในยุคปัจจุบันที่ HR เริ่มตื่นตัวก้าวข้ามงานแบบ admin เปลี่ยนมาเป็น business partner กับธุรกิจ เราจะเริ่มเห็นการใช้ตัวเลข หรือข้อมูล ตัววัดต่างๆ เข้ามาช่วยงาน HR เพื่อวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจมากขึ้น
Talent Analytics ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ข้อมูลด้านต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อประเมินหา Talent ขององค์กรสำหรับการเลื่อนขั้น และพัฒนาเพื่อเป็นกำลังสำคัญของบริษัทต่อไป
ตัวอย่างของข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ประวัติผลการประเมินผลงาน ประวัติการหมุนเวียนงาน ข้อมูลยอดขาย ผลจาก 360 feedback คะแนนทดสอบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลยิ่งมากยิ่งดีสำหรับประกอบการตัดสินใจ
แต่ถ้าเราดูแค่ข้อมูลอย่างเดียว เราก็มีโอกาสที่จะประเมิน Talent พลาดไปได้ สิ่งที่ HR ควรจะระวัง และพิจารณาในการทำ Talent Analytics ซึ่งผมอ้างอิงจากหลักสูตร People Analytics ของ Wharton มีอยู่ 4 ปัจจัย คือ
1. Context
เวลาที่เรามองหาว่าคนไหนเก่ง เป็น Talent ขององค์กร ปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณาควบคู่กับผลงาน คือ context หรือบริบทงานของคนนั้น เช่น บางคนเก่งแต่ทีมไม่ดี หรือตลาดอยู่ในช่วงขาลง ทำให้ผลงานไม่ดี หรือบางคนผลงานดีเพราะลูกน้องเก่ง หรืออยู่หน่วยงานที่ไม่ค่อยมีปัญหา เป็นต้น เพื่อที่จะเข้าใจว่า performance ที่ดี หรือไม่ดีนั้นมาจากปัจจัยภายนอกมากน้อยแค่ไหน
ดังนั้น ถ้าต้องการจะเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง Talent องค์กรควรหาวิธีที่จะทำให้เทียบกันแบบ apple to apple ให้ได้มากที่สุด (more…)