“คุณช่วยแนะนำ HR ผมหน่อยว่าจะเพิ่มคะแนน Employee Engagement อย่างไร”
ผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งเดินมาบอกผมหลังจากที่ผมนำเสนอผลคะแนน และความผูกพันของพนักงาน ซึ่งผมก็พยายามอธิบายบทบาท ความสำคัญของผู้บริหาร และหัวหน้างานต่อการสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กรให้ท่านเข้าใจ (หวังว่าท่านจะเข้าใจมากขึ้น ^^)
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านนี้ ผมสังเกตเห็นองค์กรต่างๆ ในไทยเริ่มตื่นตัว และให้ความสนใจกับการสำรวจความผูกพันของพนักงาน หรือ Employee Engagement Survey มากขึ้น เพื่อใช้ในการพัฒนาการดูแลคนในองค์กร และวางแผนกลยุทธ์ของทีม HR ต่างจากสมัยก่อนที่มักจะมีแต่องค์กรใหญ่ๆ หรือบริษัทข้ามชาติ
จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสโครงการด้าน Employee Engagement ตั้งแต่การออกแบบข้อคำถาม ไปถึงการทำสำรวจ วิเคราะห์ผล และทำแผนยกระดับความผูกพันให้กับองค์กรต่างๆ ในประเทศ ผมสังเกตประเด็นที่หลายคนมีความตั้งใจดี แต่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เลยขอเลือก 5 ประเด็นที่พบบ่อยๆ มาอธิบายเพิ่มเติม
1. HR เป็นเจ้าของโครงการ employee engagement และมีหน้าที่ทำให้คะแนนขึ้น
ผมแอบสงสารองค์กรที่มีผู้บริหาร หรือหัวหน้างานคิดแบบนี้เยอะๆ เพราะการเพิ่มความผูกพันของพนักงานเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร ไม่ต่างกับเรื่องของ safety
ใช่แล้วครับ ทุกคน ในทุกฝ่ายไม่ใช่เฉพาะ HR ที่สามารถช่วยเพิ่มความผูกพันได้ ฝ่าย HR จะช่วยประสาน และช่วยเหลือการทำโครงการ แต่คนที่จะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ คือผู้บริหาร และหัวหน้างานทุกคน
สำหรับพนักงานเอง สิ่งที่ทำได้คือสะท้อนภาพที่เป็นจริงในการทำแบบสำรวจ เพื่อให้ผู้บริหารเห็นภาพที่ถูกต้องก่อนจะไปทำแผนพัฒนาต่อไป
2. ประเด็นที่ต้องปรับปรุงมีแต่เรื่องนโยบายที่ผู้บริหาร กับ HR ต้องแก้ หัวหน้างานอย่างผมแก้อะไรไม่ได้หรอก
หลายครั้งที่ใน workshop ระดับผู้บริหาร และหัวหน้างาน เราจะได้ action list ยาวเหยียดที่อยากให้แก้ไข พอถามถึงผู้รับผิดชอบของแต่จะเรื่อง แทบทั้งหมดจะเป็น HR หรือผู้บริหารระดับสูงเพื่อปรับในเชิงนโยบาย
(more…)
“คุณเข้าใจมั้ย?”
เมื่อก่อนผมมักใช้คำถามนี้ไม่ว่าจะเป็นกับทีมเวลาที่อธิบายงาน หรือเวลาเป็นผู้บรรยายสอนในอบรม หรือ workshp ต่างๆ
เจตนาก็มาจากความหวังดีที่เราอยากให้อีกฝ่ายแน่ใจว่าเข้าใจสิ่งที่เราสอน หรืออธิบายจริงๆ จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องสื่อความผิดตามมา
จนกระทั่งไม่นานมานี้ ผมได้เรียนรู้จากโค้ชผู้บริหารท่านหนึ่งว่า การถามว่าอีกฝ่ายเข้าใจมั้ย? เป็นประโยคคำถามที่ไม่มีประโยชน์ และไม่ควรถาม
ตอนแรกผมก็ทั้งงง ทั้งแปลกใจว่า เป็นไปได้อย่างไร จนได้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า
คนที่อยากถามมักไม่กล้าถาม
เท่าที่สังเกตดูเวลาที่ทั้งตัวเองถาม หรือคนอื่นถามคำถามนี้ แทบไม่มีคนตอบว่าไม่เข้าใจ และให้อธิบายเพิ่ม อาจเป็นเพราะ
- กลัวคนถามอายที่อธิบายไม่รู้เรื่อง
- เห็นคนอื่นไม่ถามเลยไม่กล้าถาม
- กลัวอายเพื่อนๆ คิดว่าตัวเองตามไม่ทัน ถามคำถามอะไรโง่ๆ
- ตัวเองไม่ตั้งใจฟัง ไม่รู้เรื่องทั้งหมด เลยไม่รู้จะตั้งคำถามว่าไม่เข้าใจประเด็นไหน
สุดท้ายถามไปก็แทบไม่เคยได้ยินคนที่ตอบว่าไม่เข้าใจ ดังนั้นอย่าถามดีกว่า
(more…)
ในยุคที่การเข้าใจลูกค้า หรือผู้ใช้ (user) ช่วยให้การแก้ปัญหา หรือผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทักษะ Design Thinking ได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย
เมื่อผมมีโอกาสได้มาร่วมงาน Corporate Innovation Summit 2019 หนึ่งใน workshop ที่ผมตั้งใจมาเข้าคือ Intro to Design Thinking: Bootcamp of Executives ซึ่งสอนโดย คุณต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร, Head of 10X project, SCB และเจ้าของเพจ 8 บรรทัดครึ่ง
ตลอดเกือบ 3 ชั่วโมงเต็มของ workshop ผมได้เรียนรู้ผ่านการแต่ละขั้นตอนตั้งแต่ Empathize ไปจนถึง Prototype และ Test ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าคุณต้อง ย่นเนื้อหาจาก 2-3 วันมาอยู่ใน 3 ชั่วโมง และสามารถทำ Prototype และ Test จริงได้
นอกจากได้ประสบการณ์จาก workshop อีกสิ่งที่ได้คือ ประโยคเด็ดๆ ที่ทำให้ผม Aha! และเปลี่ยนมุมมองไป เลยรีบจด และนำมาแบ่งปันกัน 5 ประโยค ซึ่งคือ
1. Before solving problem, find the right problem to solve.
คนส่วนใหญ่เวลาเจอปัญหา เรามักจะมุ่งตรง และทุ่มเทในการแก้ปัญหานั้นโดยไม่ได้ดูว่าปัญหาที่เราแก้ เป็นปัญหาจริงๆ หรือแต่เปลือก ประเด็นที่เราเห็นได้ง่าย
(more…)
[Mentor Profile] CEO, International Consulting Firm
Mentor: คุณต้องไม่เชื่อแน่ๆ ว่าในบรรดา project ต่างๆ ที่ทำ ผมชอบงาน downsizing ที่ต้องจัดการกับการลดคนที่สุด
Me: ผมนึกว่างานให้คนออกเป็นงานที่ไม่มีใครอยากซะอีก
Mentor: เชื่อมั้ย มันเป็นเรื่องของการเปลี่ยนมุมมอง เวลาผมให้คนออก ส่วนใหญ่เราจะจากกันโดยที่เขาขอบคุณผม และยังรู้สึกดีๆ ติดต่อกันอยู่เลย
Me: ช่วยขยายความหน่อยครับ ว่ามีเทคนิคยังไงที่จะให้คนออกอย่างมีความสุข (more…)
ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการนั่งทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งผมเริ่มเขียนสรุปการประเมินผลงานตัวเองในด้านต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2009
รูปที่ผมเลือกเป็นตัวแทนสำหรับปีนี้ เป็นรูปที่ผมไปพูดบนเวทีใหญ่ในงาน Thailand HR Day 2018 ซึ่งเป็นหนึ่งใน Highlight ของปีนี้ ที่ผมขยาย impact การสร้างประโยชน์ให้คนอื่นได้กว้างขึ้นผ่านการบรรยาย และสอนนิสิต นักศึกษา มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา
สำหรับการประเมินชีวิตตัวเองในด้านต่างๆ เทียบกับปีที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
สุขภาพร่างกาย (A-) flat vs. Year Ago (YA)
ปีนี้ไม่ได้ไปงานวิ่งไหน แต่ก็ยังพอรักษาวินัยการวิ่ง และออกกำลังกายไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ 1-2 ครั้งทุกอาทิตย์ เรื่องการกินเริ่มควบคุมของหวานมากขึ้น เป็นปีแรกที่เปลี่ยนกาแฟที่กินจากมอคค่าเย็น มาเป็นกาแฟเย็นที่ไม่หวานเลย
น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณครึ่งกิโลกรัม ไม่น่าเกลียดมาก แต่เชื่อว่าปีหน้าจะทำได้ดีกว่านี้
Improvement Areas
- ลดน้ำหนักตัวลง 3-4 กิโลกรัม
- รักษา posture ต่างๆ ให้เหมาะสม
การงาน (A) flat vs YA
ปีที่สองในบทบาทของที่ปรึกษา ผมเริ่มเข้าใจ และมั่นใจในการช่วยลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งมากจากการทำงานร่วมกับลูกค้าตลอดปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นภาพ action plan ที่ลูกค้าทำแล้ว กลับมาวิเคราะห์และปรับคำแนะนำ และข้อเสนอแนะให้เหมาะกับองค์กรของลูกค้ามากขึ้น ผนวกกับลูกค้าเริ่มเชื่อมั่น และวางใจในความสามารถมากขึ้น ทำให้งานออกมาแล้ว ตอบโจทย์ทั้งสองฝ่าย