ในโลกของการแข่งขัน แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเลี่ยงการให้คะแนน(Rating)/ตรวจสอบ(Audit)/และการประเมิน(Evaluation)จากชีวิตการทำงาน (และส่วนตัว)ไปได้
บ้างก็มีการประกาศชัดเจน ถึงเกณฑ์วัด ช่วงเวลา และผลที่ต้องการเพื่อให้เตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ หรือจะเพื่อให้เตรียมผักชีให้พร้อมก็แล้วแต่
บ้างก็เป็นไปตามธรรมชาิติของมนุษย์ผู้ซึ่งเทียบตัวเองกับคนอื่นตลอดเวลาในทุกเรื่องที่จะเทียบได้ในเรื่องส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ความรวย ความเก่ง และอื่นอีกมากมายที่สรรหามาเทียบ
ก่อนที่นอกเรื่องไปไกลกว่านี้ ขอย้อนกลับมานิดนึง ว่าเรามีการวัดผล ตรวจสอบ ประเมิน กันมากมายไปเพื่ออะไร
หลายครั้งเราทำไปโดยไม่รู้หรือเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง
ทำไปต้องต้องทำ (doing for the sake of doing)?
ที่ผมเคยถามๆคนรอบตัวมา มีตั้งแต่ ทำเพราะเป็นส่วนหนึ่งของผลงานเรา, หัวหน้าสั่ง, ทำเพราะให้มั่นใจว่าระบบของเราดี ได้มาตรฐาน, เป็นกฏหมาย/ระเบียบบริษัทที่ต้องทำ,…
แล้วคุณล่ะ คิดว่าเราทำไปเพื่ออะไร? (more…)
เห็นชื่อหัวข้ออย่าเพิ่งตกใจว่าอ่านบล็อกหรือวิทยานิพนธ์อยู่กันแน่? (แต่ถ้าจะเอาจริงๆก็เชื่อว่าเป็นหัวข้อThesisได้เลย)
และต้องออกตัวด้วยว่าโพสนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังของค่ายGTH ที่เพิ่งเข้าโรง… ^^”
เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจที่สุดที่ผมได้เรียนรู้ระหว่างที่ไปอบรมที่เซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนที่แล้ว
ผมเชื่อว่าเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ต้องเจอกันทุกองค์กรไม่มากก็มากที่สุด :P
ทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ (Inch Worm Theory) นี้ซึ่งคนสอนตั้งเองจากประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปีบอกว่าโดยทั่วไปคนในองค์กรจะแบ่งออกเป็น5กลุ่มและมีการกระจายตัวแบบปกติ (Normal Distribution)
เพื่อให้ง่ายในการอธิบาย ผมขอสมมติให้แกนXแทนตำแหน่งของมาตรฐานการทำงานของคน(ยิ่งขวายิ่งดี มาตรฐานสูง)
และแกนYแทนจำนวนคน
กลุ่มแรกคือคนในสีน้ำเงินทางขวาคือกลุ่มทีีบริษัทชอบมากเพราะมาตรฐานสูง เป็น role model ขององค์กร
กลุ่มต่อมาก็ค่อยๆไล่กันลงมาจากเขียวด้านขวา(เกาะกลุ่มผู้นำ) แดง(คนส่วนใหญ่) เขียวซ้าย(มั่นใจว่าฉันไม่แย่ตราบใดที่ยังมีกลุ่มน้ำเงินทางซ้ายอยู่) และน้ำเงินซ้ายที่ทุกคน(รวมถึงเจ้าตัว)ก็รู้ว่าตัวเองรั้งท้ายในองค์กร
สมมติว่าองค์กรต้องการจะยกมาตรฐานในการทำงานของพนักงานขึ้น (เขยิบไปทางขวา)
ถามว่าองค์กรจะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
ให้เวลาลองคิดดูซักหน่อย แล้วค่อยอ่านต่อ
…
ถามว่าทั้งองค์กรจะปรับตัวไปทางขวาพร้อมๆกัน และยังคงการกระจายตัวแบบปกติอยู่มั้ย?
คำตอบคือ ไม่
การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะเป็นลักษณะของหนอนกระดึ๊บ
ยังไง? (more…)
ห่างหายจากการอัพเดตบล็อกมานาน
วันนี้มาสั้นๆระหว่างบินมาประชุม+workshop ที่เซี่ยงไฮ้ ก่อนจะกลับไทยมะรืนนี้
วันก่อนได้เรียนการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์องค์กรตัวหนึ่ง ซึ่งฟังทฤษฏีแล้วก็ไม่น่ายากอะไร
แต่ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของเครื่องมือตัวนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนนำ (ซึ่งต่อไปก็จะเป็นข้้าพเจ้า ^^”) มากๆ
คนสอนซึ่งมีประสบการณ์การใช้เครื่องมือนี้มากว่า 15ปี แสดงตัวอย่างให้ดูก็งั้นๆ ไม่น่ายากอะไร
แต่พอถึงช่วงที่ให้แต่ละกลุ่มนำเครื่องมือตัวนี้ไปใช้ถึงรู้ว่า ไม่ธรรมดาจริงๆ
โชคดีที่พี่เลี้ยงกลุ่มก็น่ารัก ช่วยสังเกต และช่วยแนะนำตัวอย่างคำถามและเทคนิคต่างๆ จนผ่านไปได้อย่างกระท่อนกระแท่นทั้งกลุ่ม…
สุดท้ายคนสอนพูดสรุปว่า
don’t wait to be perfect before using this tool. อย่ารอให้สมบูรณ์แบบก่อนถึงจะทำ
Practice, Practice, and Practice! ฝึกและเรียนรู้ไปเรื่อยๆจากการทำ
ตาดีข้างเดียวในหมู่คนตาบอด ก็มีประโยชน์มากพอแล้ว
ครั้งแรกของเค้าก็ไม่ได้ดีเหมือนตอนนี้หรอก
.
นึกไปก็จริงแฮะ เครื่องมือนี้เรารู้ดีที่สุดในองค์กรแล้ว จะไปกลัวทำไม
ขนาดภาษาจีนของตัวเองที่ยังงูๆปลาๆ แต่มาที่นี่กลายเป็นฮีโ่ร่พาน้องๆคนไทยเข้าร้านอาหารจีนสั่งได้ แค่นี้ก็ภูมิใจแล้ว
ถ้าไม่กล้าพูดเพราะคิดว่าพูดเป็นประโยคไม่ได้ถูกต้องก็คงอดกินของอร่อยๆแบบนี้… ^__^
.
ขอเอาใจช่วยทุกคน(ตัวเองด้วย)ให้มีความกล้า ในการทำสิ่งดีๆ โดยเฉพาะครั้งแรกๆ… :)
สู้โว้ยย…
คนหนึ่งคนทำอะไรได้มากกว่าที่คิด ถ้าลงมือทำ #IgniteTH
ช่วงหลังๆมานี้มีเพื่อนหลายคนทักว่าหลังๆชัชออกงานบ่อยนะ
จะบอกว่างานที่ไปส่วนใหญ่ก็มีแต่งานแต่งงานเพื่อนๆ ที่แต่งกันแทบอาทิตย์เว้นอาทิตย์นี่แหละ
แล้วก็ไม่ได้เป็นไฮโซที่ออกงานแล้วได้เงิน กลับจะเป็นทางตรงข้ามเสียมากกว่า ^^”
แต่งานที่ผมได้มีโอกาสไปเมื่อวานเป็นงานที่นอกจากจะฟรี (แต่ยังต้องเสียค่าเดินทางเอง)
ยังเป็นงานที่ช่วยจุดประกายไฟ สมกับชื่องานดี (Ignite)
งาน Ignite Thailand ครั้งที่ 2 ที่จัดโดยเครือข่ายพลังบวก โดยครั้งนี้จัดที่หอประชุมใหญ่ จุฬาฯ
ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่เราควรได้มีโอกาสเปิดรับมุมมองใหม่ๆ ในด้านบวก เพื่อกลับมาย้อนดูและปรับใช้กับตัวเอง
โดยเฉพาะคนที่อยู่ในโลกของการเร่งรีบตลอดเวลา และสภาพสังคมที่ข่าวหน้าหนึ่งไม่ช่วยจรรโลงใจเท่าไหร่
ทั้ง 21 igniters กับเวลา5 นาที
อาจมีบางท่านที่อยู่เหนือกาลเวลา(5นาที)บ้าง (ฮา)
แต่ละท่านก็มีความต่าง
ต่างทั้งอายุ, ประสบการณ์, เนื้อหา, และวิธีนำเสนอ
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้ว่าเป็นจุดร่วมกันของทุกคน คือ
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องที่กลั่นมาจากประสบการณ์และชีวิตของแต่ละคน เพื่อให้เชื่อให้พลังของคนหนึ่งคน
ว่าทำได้
และทุกท่านที่พูดเป็น Living proof ของการทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
สิ่งทึ่หลายๆคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้
หรือได้แต่คิด
…
ขอบคุณที่ช่วยจุดไฟ ให้กับผมและคนฟังทุกคนในหอประชุมเมื่อคืน
ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่เป็นคนที่พร้อมจะทำดี
แต่ติดอยู่ที่ความไม่เชื่อในความสามารถของคนหนึ่งคน
แค่นั้นเอง
…
ขอจบด้วยโฆษณาตัวใหม่ของเครือข่ายพลังบวก ที่ชื่อว่า พลังในตัวคุณ (Power of One) ที่จะตั้งคำถามว่าถึงสิ่งที่จะได้ด้วยคนหนึ่งคน
ช่วงเดือนที่ผ่านมาได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการจัดงานใหญ่ของบริษัท2งานติดกัน
ทำให้เห็นมุมมองของงานในอีกแบบนึง
จากที่ปกติเป็นคนเข้าร่วมงาน ถึงเวลาก็มา ทำกิจกรรมเฉยๆ ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก
ได้รู้สิ่งที่คนมาร่วมงานไม่มีทางรู้เลยว่าที่มา หรือ รายละเอียดแต่ละเรื่องต้องผ่านการคุย การแก้ มาไม่รู้กี่รอบ แม้สุดท้ายจะไม่ได้ใช้เลยก็ตาม…
ก่อนหน้านี้คิดว่าตัวเองเข้าใจคนที่เตรียมงาน อยู่เบื้องหลังพอสมควรเพราะก็เคยทำกิจกรรม เป็นคนเตรียมงานแบบนี้มาบ้างตอนเรียน
แต่พอได้ทำงานที่มีความคาดหวัง และแรงกดดันที่พลาดไม่ได้
ความเครียดและความกังวลก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
ผมเชื่อว่าสุดท้ายคนที่เตรียมงานทุกคน หวังว่าเตรียมงานเหนื่อยแค่ไหนไม่เป็นไร ขอให้งานออกมาราบรื่น และดีทึ่สุด
ก็พอใจแล้ว
.
ดังนั้นถ้าคุณได้มีโอกาสไปร่วมงานไหนแล้ว เกิดข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ไม่ราบรื่นบ้าง
ก็ช่วยใจเย็นๆนิดนึง
เพราะไม่ว่าจะเตรียมงานมาดีแค่ไหน วันจริงมักจะมีตัวแปรที่คาดไม่ถึงเข้ามาให้ตกใจเล่นอยู่เสมอ
ไม่มีใครอยากให้งานสะดุดหรอก
.
จากเรื่องนี้ทำให้รู้ว่า การพยายามเข้าใจคนอื่นโดยการเอาใจมาใส่ใจเรา (put yourself in other’s shoes)
ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเข้าใจเค้าได้ทั้งหมด
จนกว่าคุณจะอยู่ในสถานการณ์นั้นเอง
.
คงเหมือนที่หลายๆคนที่พูดเหมือนกันหลังจากมีลูกใหม่ๆสินะ
ว่าไม่เคยรู้มาก่อนว่าการเป็นพ่อ/แม่คนมีความลำบากแค่ไหน
และรักท่านเพิ่มจากเดิมไม่รู้เท่าไหร่… :)
(โยงไปได้นะเรา :P)