วันนี้ได้ไปช่วยทำกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษน้องๆในชุมชนโค้งรถไฟยมราชกับ Dwight (Twitter: @DwightTurner) และกลุ่ม InSearchOfSanuk ตามคำชวนของพี่ต่าย (@srisuda) และวาว (@vow_vow)
จริงๆผมได้รู้จักกับ Dwight มาสักพักใหญ่ๆจากงาน Tweet Meetup และได้ตามผลงานของกลุ่ม InsearchOfSanuk ผ่านเว็บแต่ไม่เคยมีโอกาสไปร่วมทำกิจกรรมอาสาสมัครกับกลุ่มนี้มาก่อน
แม้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือใจที่จะให้
ถ้าใครเคยทำงานอาสาสมัครมาก่อนจะรู้ว่าแม้พื้นเพจะต่างกันจนไม่่น่าเชื่อว่าจะรู้จักกันได้ในชีวิตประจำวัน
แต่เราสามารถทำงานร่วมกัน และเป็นเพื่อนกันได้เพราะมีใจที่จะให้เหมือนกัน (common objective)
สิ่งที่ผมทึ่งและประทับใจกลุ่มนี้มากๆ (แถมเป็นการตบหน้าคนไทยกลายๆ)
คือ เราพูดเสมอว่าประเทศเราจะพัฒนาได้อยู่ที่การพัฒนาการศึกษา การให้ความรู้กับเด็กที่ด้อยโอกาส
แล้วเราก็โยนว่าเป็นเรื่องระดับชาติ เรื่องของกระทรวงศึกษา เรื่องของโรงเรียน
แต่…
เราไม่เคยทำอะไรเลย มากไปกว่านั่งวิจารณ์ในห้องแอร์แล้วก็ปล่อยมันผ่านไป
ขณะที่ฝรั่งกลุ่มนี้เข้าไปบุกเบิกชุมชมแออัดที่แม้แต่เราคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยย่างกลายเข้าไป
ทำในสิ่งที่ตัวเองช่วยได้
บางคนเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนนานาชาติ บางคนเป็น Expat ในบริษัทข้ามชาิติมาประจำในไทยแค่ปีกว่าๆ
แต่ทุกคนก็เต็มใจมาช่วยเด็กไทย
ซึ่งผมสามารถสัมผัสถึงความแตกต่างที่กลุ่มนี้ได้ทำจริงๆ
ตั้งแต่ชาวบ้านทักทายและต้อนรับอย่างเป็นกันเอง
เด็กๆวิ่งเข้ามากอด มาคุยด้วย อย่างไม่กลัวที่จะพูดผิดเหมือนนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียน
น้องๆหลายคน (7-8ขวบ) สามารถเข้าใจพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่านักเรียนม.ปลายหลายๆคนที่มีโอกาสทุกอย่าง
นี่คือตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่ผมสัมผัสได้แม้จะเป็นครั้งแรกที่ผมไปร่วมกิจกรรม
…
และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ช่วยตอกย้ำความเชื่อที่ว่าเราสามารถสร้างความแตกต่างในสังคมได้
ถ้าเราทำ…
…
แน่นอนว่าอาสาสมัครเป็นเรื่องของความสมัครใจ
แต่ผมก็ยังอาจให้เพื่อนๆได้มีโอกาสเป็นผู้ให้บ้าง
ซึ่งไม่ได้หมายถึงการให้เงิน แต่เป็นการให้เวลา ให้ความสนใจ ให้ความรัก…
ผมรับรองว่าเพื่อนๆจะพบความสุขอีกรู้แบบที่ iPhone4 หรือ iPad2 ก็ให้ไม่ได้… :D
____________________________________________________________
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์
เหตุมันเกิดมาจากความเห็นผมในstatus Facebook และTwitter เรื่องการนิยมความแรงของคนสมัยนี้ แล้วได้การตอบรับดี ทั้งกด Like ทั้งRT เลยคิดว่าเรื่องนี้เราไม่ได้คิดไปเองคนเดียว
จากที่ผมสังเกต ความแรงในการพูดและการแสดงออกของคนในสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นับวันจะแรงขึ้น ขยายวงกว้างขึ้น และ ที่น่ากลัวคือ
ได้รับการยอมรับ (หรือเคยชิน)กันมากขึ้นด้วย
สำหรับคนที่นึกไม่ออกว่าผมพูดถึงความแรงแบบไหน ผมจะลองยกซักตัวอย่างให้เห็นภาพแล้วกัน…
เหตุการณ์สมมติ
1: ไปร้องเกะคราวนี้จะร้องเพลงอะไรดีนะ? อยากร้องเพลงพี่เบิร์ด อะไร too much very much นะ?
2: ฉันว่าอย่างเธอต้องเพลง คนไม่มีแฟน เท่านั้น… 55+
3: แรงว์อะเธอ
(ทุกคนยกเว้น1หัวเราะชอบใจ)
2: (ทำหน้าภูมิใจประหนึ่งได้โล่ห์)
ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่าก็เฉยๆหนิ ไม่เห็นแรงอะไรเลย แสดงว่าท่านได้ชินกับความแรงระดับนี้ไปแล้ว… – -” (more…)
จะว่าไปปีนี้ก็จะอายุขึ้น30แล้ว หาอะไรทำสนุกๆดีกว่า
ว่าแล้วก็ตั้งเป็นProject ชื่อเก๋ๆว่า 60B430 (sixty before thirty) Project
แปลง่ายๆว่าลดน้ำหนักลงมาที่60 กิโลกรัมก่อนอายุขึ้น30
ถามว่าทำไมเป็น60กิโลกรัม? จริงๆน้ำหนักที่เหมาะสมของผมอยู่ที่ 62 แต่ผมได้ factor เผื่อความขี้เกียจ และทำให้เป้าหมายท้าทายขึ้นอีกหน่อย เลยปัดเป็นเลข60 กลมๆ
วิธีการ ก็ใช้วิธีง่ายๆ ถือเป็นการทดลอง(กับตัวเอง)ไปในตัว
คือ ปรับtemplate ที่มาจากหนังสือ The 4-Hour Body ให้เหมาะกับเป้าหมายของตัวเอง และพิมพ์แปะในห้องนอน ชั่งน้ำหนักทุกวันและใส่จุดน้ำหนักตัวเองทุกวัน หน้าที่เราก็แค่อย่าให้น้ำหนักออกขอบบนกับขอบล่าง
แค่นั่นเอง!
ไม่มีแผนการคุมอาหารหรือออกกำลังกายเป็นพิเศษ
สองหลักการที่จะช่วยแผนนี้ได้ผล
- ทำให้เห็นชัด(Visibility) เอากันให้ชัดๆเลยว่าแต่ละวันน้ำหนักอยู่ที่เท่าไหร่ แต่ต้องชั่งเวลาเดียวกันจาก ตาชั่งเดียวกันทุกวัน
- บอกทุกคนถึงเป้าหมายนี้(Peer Pressure) เป็นแรงกดดันอ่อนๆ ไม่ใช่เราล้มเลิก (ง่ายเกินไป :P)
แล้วมาดูกันว่า Project นี้จะได้ผลอย่างที่ต้องการมั้ย? :)
ข้างล่างจะเป็นบันทึกในแต่ละช่วง จนถึงวันเกิด ว่าเจอเทคนิึึคอุปสรรคอะไรตลอด project นี้มาเล่าสู่กันฟัง…
…………………..
17 ก.พ.
ผ่านมา 4 วัน (ใช้วันวาเลนไทน์เป็นวันเริ่มวันแรก) น้ำหนักลงมา 4 ขีด แต่คงต้องดูยาวๆ เพราะพรุ่งนี้จะไปเที่ยวต่างจังหวัด3วัน… ^^”
วันนี้ตัดใจจาก Chocolate เย็นแก้วโตและขนมปังปิ้งไปได้อย่างหวุดหวิด… :D
22 ก.พ.
หนึ่งอาทิตย์ผ่านไปจากวันที่เริ่มprojectนี้ ทุกอย่างยังไปได้ดี แม้ว่าน้ำหนักจะขึ้น 4ขีดหลังกลับจากหัวหินถิ่นมีหอย และอาหารทะเล แต่วันนี้ก็วิ่งรีดน้ำหนักลงมาอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น… ^^”
28 ก.พ.
สองอาทิตย์ผ่านไป น้ำหนักลงมาแล้ว1kg ตามที่ควรจะเป็น รู้สึกระวังตัวมากขึ้นกับประเภทและปริมาณอาหารเวลาทาน มีกำลังใจให้ลดน้ำหนักและออกกำลังกายต่อไป… :)
3 มี.ค.
ตกใจมากที่อยู่น้ำหนักกระโดดขึ้นมากิโลกว่าๆอย่างไ่ม่มีสาเหตุ จากอยู่ใต้ lower limit กระโดดเลย upper limit ช่วงข้ามคืน พรุ่งนี้ต้องออกกำลังกายจริงจังหน่อยแล้ว… >_<
วันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “The Happiness Equation” ของพี่เบียร์ (นิค เผ่าทวี) อีกหนึ่งคนไทยที่มีความสามารถระดับสากลในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ และปัจจุบันสอนเศรษฐศาสตร์อยู่ที่ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์
แม้จะมีโอกาสได้อ่านไปเพียงบทเดียว แต่ก็ได้อะไรข้อคิดน่าสนใจหลายอย่างจากการฟังพี่เบียร์เล่าในงานนี้
- ความสุขแม้จะดูเป็นเรื่องนามธรรม วัดผลลำบาก แต่ทางเศรษฐศาสตร์ก็สามารถหาวิธีวัดได้โดยการเก็บข้อมูลมากพอ (หลายสิบปี หลายหมื่นข้อมูล) เพื่อที่จะหาปัจจัยหรือบอกความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งในที่นี้คือความสุข
- คนเราจะจำเหตุการณ์อะไรที่โดดออกมาจะประสบการณ์ปกติ และตอนจบของเรื่องมากกว่าช่วงอื่นๆ (“peak-end” effect) ซึ่งขัดกับความคิดของคนส่วนใหญ่เชื่อว่า เราจะจำสิ่งที่ทำซ้ำๆได้ ตัวอย่างเช่น ส่วนใหญ่เราจะจำได้ตอนเกิดเหตุการณ์ 9/11 (peak)เรากำลังทำอะไรอยู่อย่างละเอียด แต่ถ้าถามว่าแล้ววันก่อนหน้านั้น1วันเราทำอะไรอยู่ คนส่วนใหญ่จะจำไม่ได้
- ถ้าไปผับแล้วอยากเพิ่มโอกาสตัวเองในการได้เบอร์สาว ให้หาเพื่อนที่คล้ายๆกับเราแต่โดยรวมด้อยกว่าเราเล็กน้อยไปด้วย โอกาสของเราจะเพิ่มขึ้นเทียบกับไปคนเดียว เพราะสาวจะเทียบว่าเราดีกว่าเพื่อนอีกคนและให้เบอร์เรา (ที่เรื่องอย่างนี้ จำแม่นเชียว…^^”)
- หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือประเภท How to แต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสุขที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้นตามหลักการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ ผมชอบที่พี่เบียร์บอกว่าข้อมูลมีอยู่3ส่วน ส่วนของเรา(ที่คิดว่าจริง)my part, ส่วนของคุณ;your part, และความจริง; the truth เพราะสิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นความจริงส่วนใหญ่จะมีความเห็นของเรา (หรือของคนอื่น) เข้าใจผสมจนไม่ใช่ความจริง (งงมั้ย? ^^”)
- ส่วนตัวผมชอบคำถามคนฟังที่ถามว่า ในฐานะคนเขียน”The Happiness Equation” จะช่วยให้ตัวเองหาจุดที่ดีที่สุดในการทำงให้ชีวิตมีความสุขมั้ย? พี่เบียร์ตอบว่า โดยส่วนตัวเป็นคนที่มีความสุขง่ายอยู่แล้ว แต่การที่รู้ว่ายังไงซะชีวิตก็ต้องมีทั้งเรื่องดีและร้ายเข้ามา รวมกับความเข้าใจในเรื่อง peak-end effect ทำให้รู้สึกพร้อมที่จะรับมือถ้าเจอเรื่องร้ายอะไรเข้ามาในชีวิต แค่นอนพัก หรือปล่อยมันไป ไม่นานเราก็จะไม่รู้สึกแย่เท่ากับวันแรกที่เจอ ส่วนตัวผมคิดเชื่อมกับธรรมะเรื่องการคิด “เท่านั้นเอง เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย” ทำให้ใจเรานิ่ง และสงบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความสุข(สงบ) ที่ไม่ใช่เรื่องของการให้ใจกระเพื่อมไปตามเหตุการณ์ภายนอกที่ดีและร้าย (เอ…หรือเราควรไปเขียนหนังสือบ้างดี :P)
ถ้าอ่านจบแล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ… :)
ปี2010ผ่านไปสองสัปดาห์เพิ่งได้มีโอกาสนั่งทบทวนผลงานตัวเองหลังจากที่ได้เริ่มประเมินตัวเองในด้านต่างๆครั้งแรกปีที่แล้ว
ผมแบ่งเป็นหมวดๆเหมือนปีที่ผ่านมาเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ
สุขภาพร่างกาย (B+) 2 points down vs. Year Ago (YA)
ปีนี้เป็นปีแรกที่ตัวเองป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล (4วัน) จากไข้หวัดที่เชื้อแรง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากต้นปีเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัม เริ่มรู้สึกว่าลดน้ำหนักที่เพิ่มจากงานเลี้ยงหรือกลับจากไปเที่ยวได้ยากขึ้น (เริ่มแก่แล้วสินะ – -“) การวิ่งออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอเท่าปี2009 แต่ยังฟิตร่างกายพอที่จะวิ่งมินิมาราธอน(10 ก.ม.)ที่สวนหลวง ร.9 จัดเฉลิมพระเกียรติวันพ่อได้จนถึงเส้นชัย การนอนไม่เพียงพอเป็นปัญหามากขึ้น วันทำงานนอนเฉลี่ยที่ 5 ชั่วโมง (more…)