“ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ”
อ.ไชยยศ ปั้นสกุลไชย กล่าวต้อนรับผู้ชมสู่งานทอล์คการกุศล Give&Take ครั้งที่ 8 ในหัวข้อ THAI Story เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (9 กุมภาพันธ์)
งานนี้ต้องบอกว่าคุ้มจริงๆเพราะนอกจากได้มุมมอง แง่คิด จากวิทยากรหลากหลายอาชีพ แล้วรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดยังได้ร่วมสมทบทุน มูลนิธิพระดาบส
ทอล์คการกุศลนี้ ได้ 20 วิทยากร โดย 10 ท่านเป็นลูกศิษย์ อ.ไชยยศ และอีก 10 ท่านเป็นวิทยากรชั้นนำจากหลากหลายอาชีพ โดยแต่ละท่านมีเวลาเพียง 15 นาที ในการนำเสนอ ซึ่งสำหรับวิทยากรส่วนใหญ่ที่มักจะบรรยายทีละหลายๆชั่วโมง ถือเป็นเรื่องท้าทายทีเดียวเลยที่จะถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในเวลาที่จำกัดแบบนี้
ทุกท่านล้วนมีมุมมองนำเสนอที่น่าสนใจ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างบางท่าน มาเป็นตัวอย่าง
อ.สวยศ ด่านบรรพต มาในชุดโปรกอล์ฟ พร้อมเทคนิคในการเรียนรู้ทุกอย่างผ่าน G.O.L.F.
G: Guru
เรียนรู้จากกูรู หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นคน หรือหนังสือ หรือแม้กระทั่งอินเทอร์เน็ต หรือ YouTube ก็เป็นครูเราได้
O: Over&Over again
เมื่อรู้วิธีการแล้ว ก็ต้องฝึก ฝึกแล้วฝึกอีก อ.สวยศ ยกตัวอย่างเวลาเรียนตีกอล์ฟ 1 ชั่วโมงนั้น เราควรไปซ้อมก่อนเริ่มเรียน 1 ชั่วโมง เรียน 1 ชั่วโมง และซ้อมหลังเรียนอีก 1 ชั่วโมง
L: Lessons Learned
ซ้อมแล้วก็ต้องลงสนามจริง เพื่อให้เจอปัญหา และเรียนรู้จากการทำหรือปฏิบัติจริงๆ
F: Feedback
สุดท้ายก็ต้องเปิดรับฟังความเห็นจากผู้อื่น เพื่่อปรับปรุงในส่วนที่เราทำไปแล้วผิต แต่ยังมองไม่เห็น
อ.ทวีวรรณ กมลบุตร (อ.A) กับในหัวข้อ Little Voice หรือเสียงเล็กๆในใจเรา ที่จะมาทุกครั้งที่เราจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือลองอะไรใหม่ๆ
จะมีเสียงทั้งด้านบวก และด้านลบ เข้ามาและหลายครั้ง เสียงด้านลบมักจะเสียงดังกว่าด้วยเหตุผลที่ดูมีน้ำหนักว่าจนเราไม่ได้เริ่มสิ่งใหม่ๆ
อ.A แนะนำให้หาเหตุผลด้านบวก ให้ได้มากกว่าด้านลบ และแนะนำให้ตั้งโปรแกรมเก็บเสียงด้านบวกให้กับตัวเอง ด้วยการบอกตัวเองทุกๆเช้า ว่า
“ฉันเก่ง ฉันทำได้ ฉันมั่นใจ”
อ.สุวัชชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์ (อ.โจ้) มาแบ่งปันมุมมองของการ เปิดรับโอกาสดีๆให้ชีวิต
คนส่วนใหญ่ไม่เคยให้โอกาสตัวเองที่จะลอง แต่กลับบอกว่าทำไม่ได้ ซึ่งจริงๆมันอาจเป็นเพราะเราไม่ชำนาญ ไม่เคยฝึก เช่นเดียวกับการลองเขียนหนังสือด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด เราอาจเขียนได้ไม่ดี แต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ ถ้ามีโอกาสได้ฝึก ก็จะเขียนได้ดีขึ้น
ช่วงบ่ายมีวิทยากรระดับมืออาชีพอีก 10 ท่าน มาแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ โดยอยู่ในกรอบเวลา 15 นาทีเช่นกัน
ขอแบ่งปันสิ่งที่ผมจับประเด็นที่ประทับใจในแต่ละท่าน ดังนี้
อ.สุพรรณิการ กุสุมาวลี (What’s eating you?)
- จากประสบการณ์การสอน presentation skill มักจะสนใจเรื่อง เนื้อหา (Content) กับวิธีการนำเสนอ (Style) แต่อีกปัจจัยนึงที่หลายคนมีปัญหาคือ ความตื่นเต้นในการนำเสนอ
- สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความตื่นเต้นในการนำเสนอ คือ 1) คนอื่นก็เป็น 2) ไม่สามารถทำให้หายได้ แต่จะทำให้ลดลงได้
- วิธีจัดการกับความตื่นเต้น 1) เปลี่ยนมุมมองให้เป็นความท้าทาย หรือเป็นโอกาสที่ได้เสนอกับผู้ใหญ่ หรือคนอื่น 2) สะกดจิตตัวเอง 3) ซ้อมเยอะๆ 4) วิเคราะห์ผู้ฟัง
คุณพีระณัฐ (โทนคุง) จำปาเงิน (Keep Walking)
- ต้นทุนชีวิตแม้สู้คนอื่นไม่ได้ ก็ต้องพยายามมากกว่าคนอื่น
- สร้างความแตกต่างชัดเจน ให้คนอื่นจำได้
- ไม่ย่อท้อ ยอมแพ้ แม้จะถูกปฏิเสธ
- แมวมองมีอยู่ทุกที่ เพราะฉะนั้นเวลาทำงานต้องเต็มที่เสมอ
อ.สมสิทธิ์ มีแสงนิล (ศิลปะการใช้ชีวิตร่วมกัน)
- แต่ละคนมีลักษณะที่ต่างกัน ควรเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อปรับตัวในการใช้ชีวิตร่วมกัน
- อ.สมสิทธิ์ ยกตัวอย่างคนเป็น 4 ประเภท ด้วยตัวการ์ตูน พร้อมชื่อน่ารัก ประกอบด้วย น้อง Dun (ดัน..ทุรัง) น้อง Ivy (Innovative) น้อง Sugar (ใจดี มีแต่ให้) และน้อง Cut (ชอบกฏ เน้นระเบียบ)
อ.ธงชัย โรจน์กังสดาล (อย่าปล่อยให้ไอเดียหลุดลอย)
- ไอเดีย มักเกิดขึ้นเวลาไม่ตั้งใจ เราซึ่งควรมีอุปกรณ์ในการบันทึกให้พร้อม ซึ่งอาจเป็นสมุดบันทึก กับปากกาธรรมดา หรือ smart phone รุ่นล่าสุดที่บันทึกภาพ เสียง พร้อม วีดีโอก็ได้
- จากการวิจัย การเขียน เป็นการสื่อสารกับสมองโดยตรง ซึ่งจะช่วยในการจำได้ดีขึ้น
- กฏ 3 ข้อ จด จำ แจก, ไอเดียมากมายถ้าไม่จดแล้วก็จะลืม จำ ด้วยการอ่านสิ่งที่จด และแจกไอเดียผ่านสื่อต่างๆ ทั้งการบอกต่อ เขียน blog ผ่าน Facebook, YouTube เพื่อให้มีการต่อยอดทางความคิด ที่หลายครั้งเราอาจทำไม่ได้ แต่ไอเดียเราจะไปจุดประกายและเป็นประโยชน์กับคนอื่นต่อ
- สร้างนิสัยสร้างสรรค์ ด้วยการ ตั้งโปรแกรมหรือ App ให้ตัวเราเอง If… Then ถ้าฉันเกิดไอเดีย ฉันจะรีบจดทันที
คุณสุนทรา สัจจะวัชรพงศ์ (ไข่ตุ๋น)
- ไข่ตุ๋น เป็นสุนัขพันธุ์พิทบูลที่เคยกัดคุณยายท่านหนึ่งจนเสียชีวิต แต่เมื่อได้รับความรัก การดูแล และการฝึกอย่างถูกวิธีก็กลายเป็นสุนัขที่เชื่องและน่ารักได้
- สิ่งที่คุณสุนทราได้เรียนรู้และมาแบ่งปันจากการเลี้ยงสุนัข มีอยู่หลายเรื่อง แต่สรุปคือ จงอดทน เชื่อมั่น รอคอย และให้โอกาส ซึ่งผมว่าหลายคนที่เคยพลาด และถูกตัดสินการกระทำในอดีตจากสังคมก็ต้องการ ความรู้สึกนึ้เหมือนกัน
นพ.สุกมล วิภาวีพลกุล (เรียนรู้เรื่องรัก…รู้จักชีวิตคู่)
- คุณหมอปล่อยมุกพรั่งพรูมากจนจดไม่ทัน ขำกระจาย จำได้แต่วงกลม 2 วง (Love, Sex) ที่มีจุดร่วมตรงกลาง
- Sex without love = have sex
- Sex with love = make love
- Love without sex = Compassion
- Love with sex = passion
อ.วิเชียร ไชยบัง (นอกกะลา คือ ปาฏิหาริย์)
- อ.วิเชียร ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา มาเล่าถึงแนวคิด และวิธีการสอนของโรงเรียนที่อาจฟังดูแปลกสำหรับคนที่อยู่ในการศึกษากระแสหลัก
- การเรียนที่ไม่มีเสียงระฆังเข้าเรียน ไม่มีการสอบ ไม่มีการเปรียบเทียบ แต่เน้นให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตั้งคำถาม และเห็นความเชื่อมโยงของ เพื่อเข้าใจแก่นแท้ของศาสตร์ต่างๆ
ผศ.ดร.วาสิตา บุญสาธร (The Power of Appreciation)
- ใครๆก็ต้องการการชื่นชม ซึ่งผลของการชื่นชมในองค์กร คือ รักษาคน สร้างทีม สร้างผลงาน
- วิธีการชื่นชม ทำได้ง่ายและหลากหลาย แต่สำคัญที่เราเห็นคุณค่าของคนนั้นจริงๆ
ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (Where we hide? Why we here?)
- เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น จะเกิดความคิด กับอารมณ์ ซึ่งจะเสริมซึ่งกันและกันหนาขึ้นเรื่อยๆ เสมือนชั้นของหัวหอม
- วิธีรับมือที่ดีที่สุด คือการมีสติ รู้ตัว ไม่ไปวิ่งตามความคิดและอารมณ์
อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ (โค้ชคร่อมกรอบ)
- คิดไม่ออก หรือ คิดแล้วไม่ยอมให้เราออก
- กรอบมีหลายชั้น เริ่มจากกรอบความคิดของตัวเอง ขององค์กร จนไปถึงกรอบของสังคม
- ถ้าคิดนอกกรอบสังคมเกินไป อาจทำไม่ได้จริง เพราะสังคมไม่ยอมรับ
- คนส่วนใหญ่ติดกรอบเพราะความกลัว ให้ถามตัวเอง 1) เรากลัวอะไร? 2) แล้วไง? 3) ที่กลัวนี่จริงรึปล่าว?
สุดท้าย ผมขอขอบคุณอ.ไชยยศ อีกครั้งที่จัดงานดีๆแบบนี้นะครับ ผมเชื่อว่าการให้ แม้ไม่หวังอะไร ก็ได้กลับไปในรูปต่างๆทุกคน ผมเขียน blog นี้ก็เหมือนการ pay it forward สำหรับคนที่ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมงาน จะได้รับรู้ความตั้งใจดีของผู้จัดงาน และวิทยากรทุกท่านที่มาแบ่งปันเรื่องราวดีๆกัน
เชื่อว่าคุณพ่อ คุณแม่ทุกคนย่อมเป็นห่วงลูกของตัวเองทั้งนั้น โดยเฉพาะการเลี้ยงวัยรุ่นที่กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อย่างการไปเลือกไปเรียนต่อต่างประเทศ
คืนนี้ผมได้ทานอาหารกับผู้ใหญ่ท่านนึง ซึ่งลูกสาวคนเดียวของท่านกำลังจะไปเรียนต่อต่างประเทศในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
ท่านได้เล่าวิธีคิดและสอนลูกมาซึ่ง ผมคิดว่ามีประโยชน์มากเลยกลับมากลั่นเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ปกครองในวัยนี้ หรือเผื่อวันนึงผมจะได้ใช้บ้าง :D
เริ่มจากที่ลูกสาวมาบอกพ่อก่อนจบม.6 ว่าอยากไปเรียนทำอาหารที่ต่างประเทศ…
ตอนแรกคุณพ่อก็กลัวและอดเป็นห่วง ไหนจะเรื่องของอาชีพในอนาคต ไหนจะเป็นลูกสาวคนเดียวที่ไปอยู่ไกลบ้าน
สิ่งที่ทำได้คือให้ข้อมูล และความเสี่ยงต่างๆของสิ่งที่ลูกจะเลือก แล้วให้ลองไปฝึกงานที่ร้านอาหารจริงๆก่อนเดือนนึง แล้วค่อยตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สนใจอยากเรียนจริงๆรึปล่าว หรือเป็นแค่กระแส หรือชอบชั่วคราว
พอลูกสาวไปฝึกงานแล้วยืนยันว่า อยากไปเรียนด้านนี้จริงๆ คุณพ่อก็เลยจัดให้ แต่ก็ไม่ลืมที่จะสอนลูกสาวในเรื่องสำคัญด้านต่างๆ ดังนี้
สุขภาพ – ต้องดูแลตัวเองให้ดี รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ป่วยในต่างประเทศมันลำบาก
การเรียน – ถ้าไปเรียนแล้วไม่ชอบ กลับมาเลยนะลูก ไม่ต้องฝืนจนจบ 4 ปี จะได้ประหยัดตังค์ด้วย ดีกว่าฝืนเรียนจนจบเพราะกลัวพ่อว่า แล้วมาขอเงินไปเรียนอย่างอื่นต่อ
การเงิน – ไม่ต้องห่วง พ่อมีเงิน (จบข่าว)
ความรัก – ถ้าเป็นไปได้อย่าชอบเค้าก่อน ค่อยๆดูกันไป ถ้าเราชอบเค้าก่อน เราจะ suffer
เซ็กซ์ – ถ้าท้อง ไม่ต้องกลัว รีบบอกพ่อ พ่อจะไม่ว่าซักคำ ถ้าท้องแล้วผู้ชายทิ้ง ก็ไม่ต้องกลัว พ่อเลี้ยงหลานได้สบายมาก (ข้อนี้สำคัญ เพราะถ้าไม่บอกไว้ก่อน เกิดมีปัญหาขึ้นมา ลูกอาจคิดมาก ไม่กล้าบอกที่บ้าน จนคิดสั้นได้)
การระวังตัว – ถ้ากำลังจะทำอะไรที่ขาดสติ แล้วมีโอกาสคิดได้วูบนึง ให้คิดถึงหน้าพ่อ คิดว่าถ้าเป็นพ่อจะทำยังไง (หล่อมากครับ)
เป็นยังไงครับ ผมฟังจบแล้ว อดทึ่งในวิธีการคิด และคำสอนของผู้ใหญ่ท่านนี้ไม่ได้จริงๆ
ถ้ามีความเห็นหรือข้อคิดสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ หรือลูกๆที่กำลังจะไปเรียนต่อต่างประเทศ ก็มาแบ่งปันกันได้นะครับ
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์
ลุยกันเลยกับการประเมินผลตัวเองปีนี้ ซึ่งก็เข้าปีที่ 5 ที่ได้หาเวลามาทบทวนดูชีวิตที่ผ่านมาในปีว่ามีเรื่องอะไรน่าสนใจ หรือต้องปรับปรุงบ้าง (การประเมินตัวเองในปี 2012, 2011, 2010, 2009)
เช่นเดิม ผมแบ่งเป็นหมวดๆเช่นทุกปีที่ผ่านมาเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ
สุขภาพร่างกาย (B+) 1pt down vs. Year Ago (YA)
ปีนี้สุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีป่วยหนัก แต่การออกกำลังกายไม่ได้ตามเป้าเหมือนปีที่แล้ว ลงวิ่งมินิมาราธอนไป 3 รายการ จากที่ตั้งใจจะลงวิ่ง full marathon แต่เวลาและความฟิตไม่เอื้ออำนวยจริงๆ ช่วง Q4 ได้อุปกรณ์มานับก้าวที่เดิน ช่วยให้เดินขึ้นลงบันไดบ่อยขึ้นกว่าก่อน เพราะอยากเดินให้ได้วันละ 10,000 ก้าว ถ้าไม่พยายาม วันทำงานปกติจะเดินแค่ 3-4,000 ก้าวเท่านั้น น้ำหนักตัวไม่ขึ้น แต่ก็ยอมลง ^^”
Improvement Areas
- ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน
- ลดน้ำหนักตัวลงให้เหลือ 65 กิโลกรัม (ขอเป้าเดิมกับปีที่แล้ว)
องค์กรไหนๆก็อยากอยู่มั่นคงแข็งแรงไปนานๆ แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกองค์กรจะทำได้
ยิ่งยืนหยัดผ่านร้อน ผ่านหนาวมาได้เกิน 100 ปี แสดงว่าองค์กรต้องมีอะไรดี น่าสนใจให้เรียนรู้แน่ๆ
ผมได้ไปร่วมงานสัมมนา “องค์กร 100 ปี สู่องค์กรยั่งยืน” ซึ่งจัดโดยกรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันก่อน (17 ธ.ค.)
ในงานได้มีโอกาสฟังผู้บริหารขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีอายุเกิน 100 ปี มาแบ่งปันเคล็ดลับที่ทำให้องค์กรอยู่มานานและยังประสบความสำเร็จถึงทุกวันนี้
รายชื่อผู้บริหารที่ร่วมเสวนา
คุณบุญยง ตันสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ๋ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย
คุณอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์
คุณปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม อมตะ บี.กริม เพาเวอร์
คุณเวย์น อิงแลนด์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า
คุณอูเมช ฟัดเค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด
คุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณโกวิทย์ คันธาภัสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีอี ประเทศไทย จำกัด
การเสวนาแบ่งเป็น 2 รอบ โดยรอบแรกเป็นผู้บริหาร 3 ท่าน โดยดำเนินรายการเป็นภาษาไทย และอีกรอบเป็น 4 ท่านที่เหลือ ดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษ
ผมขอสรุปสิ่งที่ผมได้เป็นหัวข้อๆตามคำถาม และคำตอบของผู้บริหารในแต่ละบริษัท ดังนี้
ถ้าใครที่อยู่ในองค์กรใหญ่ๆ คงสังเกตว่าช่วงหลังๆ เราอาจได้ยินผู้บริหาร หรือ HR เริ่มพูดถึงคำว่า Diversity หรือความหลากหลายมากขึ้น
บางองค์กรอาจไม่ใช่แค่ Diversity อย่างเดียว แต่จะมาชื่อยาวๆเป็น Diversity and Inclusion เลยทีเดียว
ความหลากหลายในองค์กร วัดอย่างไร?
ตอนเริ่มใหม่ๆ เมื่อหลายปีก่อน หลายองค์กรก็เริ่มจากตัววัดที่ง่ายที่สุดคือ เพศ และ เชื้อชาติ
ดูว่าสัดส่วนผู้หญิง : ผู้ชาย ในแต่ละประเทศ แต่ละระดับ ว่าเหมาะสม มากน้อยอย่างไร
จำนวนเปอร์เซนต์ของคนเอเชีย คนยุโรป หรือ คนอเมริกา ในระดับผู้บริหาร เป็นต้น
หลังๆเราเริ่มเห็นการวัดความหลากหลายที่ซับซ้อนขึ้น
จากเพศ ที่เดิมแบ่งเพียงชาย กับหญิง กลายเป็นการแบ่งจากรสนิยมทางเพศที่หลากหลาย
การแบ่งกลุ่มตามช่วงอายุ (Generation) ต่างๆ เป็นต้น (more…)