เวลานึกถึงภาพคนที่เป็น Expat ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงคนเก่ง มีความสามารถสูง ที่บริษัทลงทุนในการพัฒนา ส่งไปทำงาน หรือดูแลธุรกิจต่างประเทศ
และแน่นอนสวัสดิการที่ดี ถึงดีมากกกก สำหรับคนกลุ่มนี้เพื่อชักจูงให้จากประเทศเกิดไป อยู่ในประเทศที่ไม่คุ้นเคย ห่างไกลครอบครัว เพื่อนฝูง
ไหนจะที่อยู่ฟรี รถบริษัท พร้อมคนขับ ค่าเล่าเรียนลูกในโรงเรียน inter และอื่นๆอีกมากมาย ตามตำแหน่ง และระบบของบริษัท
ดูเป็นชีวิตที่น่าอิจฉาซะนี่กระไร
แต่ถ้าได้รู้จักคนกลุ่มนี้จริงๆ จะพบความจริงอีกด้านที่น่าสนใจ… (more…)
HR แผนกที่พนักงานไม่ค่อยอยากสุงสิงด้วยถ้าไม่จำเป็น
HR แผนกที่พนักงานมองว่าเป็นตัวแทนของบริษัท ขณะเดียวกันผู้บริหารก็มองว่าเป็นตัวแทนของพนักงาน
HR แผนกที่หลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญ เพราะเห็นว่าบุคลากรที่เก่งและเหมาะสมกับองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจ
HR แผนกที่พยายามสลัดภาพผู้คุมกฏ ทำงาน routine น่าเบื่อ เป็นที่รวมของคนไม่มีที่ไป มาเป็นมือขวาของผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลในเชิงรุก เข้าใจภาพธุรกิจ ขณะเดียวกันก็เข้าใจพนักงาน
จากที่มีโอกาสได้สัมผัสทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ผมเห็นหลายองค์กรที่ผู้บริหารเริ่มให้ความสำคัญกับด้านบุคลากรในองค์กรมากขึ้น
HR เลยได้โจทย์ใหม่ๆมากมายเพื่อดึงดูดผู้สมัครที่เก่งและดี พัฒนาพนักงานให้เก่งขึ้น และดึงศักยภาพของพนักงานออกมาใช้ในองค์กร อย่างมีความสุข ภายใต้งบที่จำกัด (และลดลงทุกปี)
ต้องบอกเลยว่า
ไม่ง่าย…
แต่ในความคาดหวังที่ท้าทายขนาดนี้ สิ่งที่ผมเห็นคือ คนในทีม HR กลับถูกละเลย
ละเลยจากเพื่อนพนักงาน
ที่มักจะมองว่าคนแผนกนี้เป็นตัวแทนของบริษัท ต้องคอยจับผิดแน่ๆ หรือมีเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่างๆ ก็จัดเต็มจนลืมไปว่าคนในทีม HR ก็เป็นเพื่อนร่วมงาน กินเงินเดือนเหมือนกัน
ละเลยจากผู้บริหาร
ผู้บริหารหลายท่าน ยังมองว่า HR เป็นแผนกจับฉ่าย มีงานแล้วไม่รู้จะให้ใครทำก็มาแปะไว้แผนกนี้ก่อน ผมเคยเห็นตั้งแต่เตรียมงานปีใหม่ ถ่าย+ตัดต่อวีดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าให้ทำก็ทำได้ แต่ถ้างานที่ทำใช้เวลาไม่สอดคล้องกับความคาดหวัง ก็ยากที่เป็น
ละเลยจากพัฒนา
เป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออก เมื่อแผนกที่ดูแลการพัฒนา ฝึกอบรม ให้คนในองค์กร กลับได้โอกาส และงบประมาณในการพัฒนาน้อยที่สุด แผนกที่ควรได้ติดต่อ networking กับองค์กรอื่น เพื่อรู้ความเคลื่อนไหวในตลาด มาวางแผนเรื่องคน กลับไม่ได้โอกาส โงหัวจากงานประจำไปข้างนอก และแผนกที่ดูแล Talents และ Succession Planning ขององค์กร กลับไม่ได้มีคนในแผนกตัวเองอยู่ในแผนนั้นเลย
ถ้าผู้บริหารผ่านมาอ่าน ลองเอาไปคิดดูนะครับ ถ้าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรจริง คนที่ดูแลระบบต่างๆในองค์กรควรได้รับความสำคัญมากน้อยแค่ไหน?
____________________________________________________________
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์
คุณคิดว่า ผู้นำที่ดีในทีมควรเป็นอย่างไร?
วันนี้ผมมีโอกาสได้คุยกับหัวหน้าเรื่องนี้ หัวหน้าตอบได้ประทับใจมากเลยขอเก็บมาเล่าแบ่งปันต่อนะครับ
หัวหน้าบอกว่า ผู้นำที่ดีในทีมควรเป็นเหมือน กัปตันเรือ
กัปตัน เป็นคนกำหนด และตัดสินใจว่าจะพาเรือไปในทิศทางไหน
คนในเรือเห็นอะไร หรือได้ข้อมูลอะไรที่คิดว่ากัปตันไม่เห็น หรืออาจทำให้ตัดสินใจผิด ก็ที่หน้าที่บอก
แต่สุดท้าย กัปตันต้องเป็นคนตัดสินใจ
ถ้ามีปัญหา เรื่อรั่ว เจอพายุ หรือพาหลงทาง กัปตันควรรีบยอมรับว่าตัดสินใจผิด แล้วทุกคนในเรือรวมทั้งกัปตันต้องช่วยกันอุด และประคองเรือไปให้รอดฝั่ง
ปัญหาที่เจอส่วนใหญ่ คือ กัปตัน ไม่ยอมตัดสินใจ เพราะกลัวตัดสินใจผิด พอเจอพายุหรือหินโสโครกก็โทษลูกเรือว่าไม่บอก หรือทำหน้าที่ตัวเองไม่ดี
หรือในอีกกรณีคือ ลูกเรือบอกข้อมูลกัปตัน แต่กัปตันไม่ฟัง แต่มั่นใจว่าตัวเองถูกแน่ๆ เลยตัดสินใจแทน ซึ่งแม้เรื่องที่ตัดสินใจจะถูกจริงๆ ทำให้เรือถึงฝั่ง แต่ก็ไม่ถูก เพราะการตัดสินใจสุดท้ายจริงๆต้องเป็นกัปตันเสมอ
แน่นอน กัปตันต้องรับผิดชอบ ถ้าสุดท้ายกัปตันตัดสินใจผิดทำให้เรือล่ม แม้จะมีข้อมูลที่ถูกต้องจากลูกเรือ จะมาโยนความผิดให้ลูกเรือไม่ได้ทุกกรณี
ลองมองกลับไปดูว่าตอนนี้ผู้นำในทีมของคุณเป็นกัปตันแบบไหน? หรือว่าคุณเป็นกัปตันเอง คุณกำลังนำเรือไปทางไหน?
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋ง ๆ คำถามโดน ๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์
ว่ากันว่า คนที่ทำธุรกิจธรรมดาว่ายากแล้ว ทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ยิ่งยากใหญ่
เมื่อวานผมมีโอกาสได้ไปร่วมงาน Singapore Insights: Social Innovation and Enterprise จัดโดย Singapore International Foundation
ทำให้มีโอกาสได้ทั้งฟังเปิดโลกทัศน์ตัวเอง กับคนที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงสังคมในขอบเขตที่ทำได้
ได้ฟังตัวอย่างของ Social Enterprise อย่าง Yellow Ribbon Project กับ Joan Bowen Cafe
แล้วนั่งรถไปดูงาน organic farm ของบริษัท Comcrop ต่อที่ตึก *Scape แถว Orchard
ปิดท้ายด้วยการไปร่วมงาน Young Social Entrepreneurs (YSE) programme reception ซึ่งมีการประกาศผล 10 ทีมที่ชนะและได้ไปต่อจาก 37 ทีม
ถือว่าเป็นวันที่ได้สนุกกับการเรียนรู้ และรู้จักคนที่น่าสนใจไปพร้อมกัน (more…)
เคยมั้ยว่าทำงานในสายงานเดิมมานานๆ แล้วรู้สึกตัน แต่ไม่รู้ว่าแผนกอื่นเค้าทำอะไร
หรือ บริษัทบอกว่าเราต้องเข้าใจลูกค้ามากขึ้น แต่งานที่เราทำรู้สึกห่างไกลกับลูกค้าของบริษัทจริงๆเสียเหลือเกิน
แม้กระทั่งอยากออกไปเปิดบริษัทของตัวเอง กลับไม่รู้จักใคร หรือจะเริ่มยังไงเลย
ช่วงหลังๆ เริ่มมีเพื่อนๆ น้องๆ หลายคนที่รู้สึกมาปรึกษาเรื่องนี้กับผมมากขึ้น
อาจเป็นเพราะประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาทั้งอยู่ในโรงงาน อยู่ในออฟฟิศกลางเมือง และต่างประเทศ(แม้จะเพิ่งมาได้ 2 อาทิตย์) ในหลายแผนก
แถมช่วงหลังๆ ผมโชคดีที่มีโอกาสได้ติดต่อกับทั้งลูกค้า และ Stakeholders ของบริษัททั้งภาคราชการ และเอกชน
ทำให้ผมเห็นความสำคัญ และโอกาสที่ไม่เคยสังเกตมาก่อน เลยอยากมาเล่าสู่กันฟัง…
ลูกค้ามีความสำคัญมาก และสำคัญเสมอสำหรับธุรกิจ ไม่ว่าจะเล็ก จะใหญ่แค่ไหน สิ่งที่ต้องระวังคือ
เวลาอยู่ในองค์กรที่ใหญ่มากๆ เป็นไปได้ที่เราจะอยู่ห่างกับลูกค้า จนไม่สามารถเชื่อมได้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่เกี่ยวกับลูกค้ายังไง หรือไม่รู้ว่าลูกค้าของเราจริงๆคือใคร ซึ่ง
อันตรายมาก!
ที่อันตรายเพราะ ถ้าธุรกิจมีปัญหาอะไรที่ต้องปรับองค์กร หรือลดคน คนที่ add value กับลูกค้าน้อยที่สุดมักจะโดนลดก่อน
ดังนั้น ถ้ามีโอกาส ควรหาทางทำงานที่ได้ติดต่อกับลูกค้าภายนอกของบริษัท
ถ้ายังไม่มีโอกาส ก็พยายามทำความรู้จักและหาความคาดหวังของลูกค้าของงานเรา หรือของแผนกของเรา ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลภายนอก หรือลูกค้าภายใน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น
อ่านข่าวให้รู้ภาพรวมทางธุรกิจ ว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร ทิศทางบริษัทไปทิศทางไหน แม้หลายคนจะมองว่าไม่เกี่ยวกับตัวเอง แต่สุดท้ายทุกคนในองค์กรก็จะได้รับผลกระทบหมด อาจจะช้าเร็วต่างกันบ้าง
การที่เราตื่นตัวกับสถานการณ์ของบริษัท และลูกค้าอยู่ตลอด จะทำให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ก็สามารถหาทางหนีทีไล่สำหรับตัวเองได้ก่อน
สำหรับคนที่อยากมีธุรกิจตัวเองในอนาคต ควรเริ่มฝึกมองและวิเคราะห์กลยุทธ์ของบริษัท ผลิตภัณฑ์ ลูกค้า การตลาด การจัดการเรื่องคน และการขายของบริษัทตัวเอง
เพราะเราจะมีข้อมูลดีกว่า และทำให้มีแต้มต่อเวลาไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองในอนาคต
ย้ำอีกครั้ง
ไม่ว่าอยู่ตรงไหนขององค์กร พยายามหาทางทำความรู้จักลูกค้าของบริษัท ความต้องการของลูกค้า สถานการณ์ และกลยุทธ์ของบริษัท
ไม่ต้องเพื่อบริษัทก็ได้
แต่เพื่อตัวคุณเอง…