ช่วงนี้บัณทิตใหม่ที่เพิ่งจบมา คงวุ่นอยู่กับการสมัครงาน และสัมภาษณ์ตามบริษัทต่างๆ อย่างสนุกสนาน (รึปล่าว?)
ซึ่งแน่นอนว่าคงมีไม่กี่คนที่จะโชคดีได้งานจากการสัมภาษณ์ครั้งแรก หรือทุกบริษัทที่สัมภาษณ์เสนอตำแหน่ง และพยายามง้อให้คุณไปทำงานด้วย
ผู้สมัครส่วนใหญ่ถ้าไม่เทพจริงๆก็คงเตรียมใจมาระดับหนึ่งสำหรับการถูกปฏิเสธ
แต่พอถูกปฏิเสธจากหลายๆบริษัท ซัำแล้วซ้ำเล่า ใจเริ่มแป้ว รู้สึกเคว้งคว้าง
บ้างก็ท้อ บ้างก็เริ่มสงสัยว่าตกลงตัวเองเก่งหรือดีพออย่างที่คิดมั้ย? หรือแค่มโนไปเอง? ทำไมไม่มีบริษัทไหนรับเราซักที
ยิ่งหลายคนที่จบมาด้วยคะแนนดี กิจกรรมเด่น พอถูกปฏิเสธจากหลายๆบริษัท เริ่มเขว เสียความมั่นใจในตัวเอง
ซึ่งเจ้าความไม่มั่นใจในตัวเองนี้จะสะท้อนเป็นความประหม่า ตื่นเต้นในการสัมภาษณ์ครั้งต่อๆไป
และยิ่งจะทำให้โอกาสได้งานหริบหรี่ลงอีก
แล้วจะทำยังไงดีล่ะ? (more…)
วันนี้ (29 มีนาคม 2558) เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ กับรัฐพิธีเคารพศพนาย ลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ที่ถึงแก่อสัญกรรมวันจันทร์ที่ผ่านมา
ในฐานะที่ได้ทำงานที่สิงคโปร์มาปีกว่าๆ และได้สัมผัสกับระบบการทำงานของข้าราชการ และระบบและแผนต่างๆของประเทศนี้ ต้องยอมรับจริงว่า ลี กวน ยู เป็นบุคคลที่สำคัญ และผลักดันวิสัยทัศน์ จนออกมาเป็นรูปธรรม และเปลี่ยนประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ ซึ่งไม่มีทรัพยากรอะไร จากประเทศเกิดใหม่ด้อยพัฒนา ก้าวหน้าจนกลายเป็นประเทศพัฒนา เจริญอันดับต้นๆ เพียงหนึ่งชั่วอายุคน
ต้องออกตัวก่อนว่า ตอนเรียนมัธยมวิชาสังคม ก็ได้ยินชื่อของลี กวน ยู ว่าเป็นคนสำคัญ เป็นนายกคนแรกและยาวนานแบบผูกขาดหลายสิบปี ก่อนจะถอยออกมาอยู่เบื้องหลัง แต่ไม่ได้ทำความรู้จักหรือจำรายละเอียดเกี่ยวกับท่านได้มากเท่าไหร่
ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากวันจันทร์ที่ ลี กวน ยู ถึงแก่อสัญกรรม ผมได้รู้จักท่านมากขึ้นผ่านสารคดี และข่าวต่างๆทั้ง Channel News Asia ของสิงคโปร์เอง สื่อต่างประเทศอย่าง BBC, Discovery Channel และนิตยสาร The Economist ที่ต่างนำเสนอบทความต่างๆเกี่ยวกับลี กวน ยู ตั้งแต่ประวัติตั้งแต่เด็ก ชีวิตการทำงาน วิสัยทัศน์ และความเชื่อซึ่งผลักดันจนเป็นประเทศสิงคโปร์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน (more…)
คุณจะเลือกคนสำหรับ 70 ตำแหน่งจากคนสมัคร 33,000 คนยังไง?
นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบริษัท L’Oreal ประเทศจีน
ในตลาดที่แข่งขันกันสูงมากอย่างจีนที่มีบัณฑิตใหม่กว่า 7 ล้านคนทุกปีกำลังหางานอยู่ ถ้า HR มานั่งอ่าน CV ของทุกคน ก็คงปวดหัวไม่น้อย และไม่ได้รับรองว่าจะได้คนที่ดี และเหมาะสมที่สุดสำหรับบริษัท
สิ่งที่ HR บริษัทใหญ่ๆ ใช้เป็นตัวกรองอันดับแรกๆคือ มหาวิทยาลัยที่จบ ถ้าไม่ใช่อันดับต้นๆก็ตัดออกก่อน
ถามว่าเป็นการตัดโอกาสมั้ย?
ก็ต้องยอมรับว่าคนเก่งหลายคนที่หลุดจากตัวกรองนี้ และ CV ก็ไม่ใช่สิ่งที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้สมัคร
ผมดูข่าวจาก BBC พูดถึงบริษัท L’Oreal ในจีน เปลี่ยนวิธีการคัดคนใหม่
น่าสนใจเพราะแทนที่จะดูที่มหาวิทยาลัยที่จบ หรือ resume
บริษัทให้คนสมัครตอบคำถาม 3 ข้อ ใน smart phone
แล้วให้โปรแกรมที่วิเคราะห์บุคคลิกนิสัยจากภาษาที่ใช้ในการตอบ
_______________
ตัวอย่างคำถาม (more…)
เพราะการแข่งขันแย่งตัวคนเก่งไม่สามารถนั่งกระดิกเท้ารอให้เด็กๆมาสมัคร และเลือกเหมือนเมื่อก่อน
เพราะทางเลือกของเด็กสมัยนี้มีมากมาย ไม่จำกัดเพียงบริษัทในประเทศ หรือแค่บริษัทยักษ์ใหญ่
เราคงจะได้เห็นบริษัทไทยเริ่มขยับตัวเข้าเด็กตั้งแต่ก่อนเรียนจบ เพื่อแนะนำบริษัทมากขึ้น เพื่อหาช้างเผือกไม่เพียงในประเทศ แต่ต่างประเทศโดยเฉพาะใน ASEAN ที่เป็นเป้าหมายระยะสั้นของบริษัทไทยที่ต้องการขยายความเป็นที่หนึ่งในระดับภูมิภาค
แน่นอนว่าเป้าหมายของบริษัทไทย คือคนเก่งและเหมาะสมกับวัฒนธรรมบริษัท ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเด็กนักเรียนไทยในต่างแดนเท่านั้น
โจทย์ของบริษัทไทย และฝ่ายบุคคล คือจะทำยังไงให้บริษัทที่ใครๆในไทยก็รู้จัก และอยากทำงานด้วย ดูน่าสนใจ และดึงดูดกับเด็กต่างชาติที่ไม่รู้จักบริษัทของคุณเลย
ถ้าไม่ติดงานด่วนอะไร ผมว่าจะแวะไปดูงานนี้ แล้วจะกลับมาเล่าบรรยากาศ และความพร้อมของบริษัทไทยในสายตานักเรียนต่างชาติให้ฟังนะครับ
ป.ล. งานนี้จัดโดย สมาคมนักเรียนไทยในสิงคโปร์ (รายละเอียด)
เวลาทำงาน แน่นอนกว่าทุกอย่างคงไม่ได้ราบเรียบ สมหวัง เป็นไปตามแผนที่วางไว้ สิ่งที่สำคัญคือเมื่อวันที่ฟ้าไม่เป็นใจ ทำอะไรก็ผิด ไม่ได้ดั่งหวัง เจอทางตัน โดนปฏิเสธ จนท้อใจ เราจะรักษาใจของเราอย่างไรไม่ให้หมดแรง หรือหมดไฟไปกับอุปสรรคที่เข้ามา
สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตจากที่คนที่ประสบความสำเร็จทุกคนก็ล้วนผ่านความล้มเหลว ผิดหวังมาครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนกัน ใช่ว่าหนทางจะโรยด้วยกลีบกุหลาบไร้ขวากหนามต่างจากคนที่ล้มเหลว แต่มุมมองต่อสถานการณ์ และบทเรียนที่เรียนรู้จากความผิดพลาดต่างๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาสู้จนประสบความสำเร็จ
แม้จะอ่านเจอความพยายามของคนที่ประสบความสำเร็จในอดีตหลายคน แต่ส่วนตัวก็ยังรู้สึกว่าเป็นคนละสมัย ไม่ค่อยโดนเท่าไหร่ (แม้ว่าบทเรียนเรื่องความพยายาม และไม่ยอมแพ้ต่อปัญหานั้นจะไม่ต่างกันมาก)
แต่ถ้าได้เป็นคนที่กำลังประสบความสำเร็จในปัจจุบันจะรู้สึกสัมผัสได้ ใกล้ตัว และสามารถเชื่อมโยงได้ง่ายกว่า ซึ่งในที่นี้ผมกำลังจะพูดถึงคุณ Jack Ma ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Alibaba e-commerce บุคคลที่มีทรัพย์สินมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
คุณรู้มั้ยว่า Jack Ma
- สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ผ่านถึง 3 ครั้ง
- สมัครงานแล้วถูกปฏิเสธจาก 30 ที่
- ตอน KFC มาเปิดที่เมือง มีคนไปสมัครงาน 24 คน รวมถึง Jack Ma แล้ว 23 คนได้งาน ยกเว้นตัวเขา!
- ไม่มีธนาคารไหนยอมรับระบบการจ่ายเงิน Alipay พร้อมบอกเขาว่า ระบบนี้ไม่มีทางสำเร็จหรอก ซึ่งปัจจุบันมีคนมากกว่า 800 ล้านคน!
ที่ Jack Ma ผ่านความผิดหวัง และการปฏิเสธนับครั้งไม่ถ้วนมาได้ เพราะเขาเชื่อว่า
Giving up is the greatest failure.
หรือการยอมแพ้คือความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หรือสรุปว่า อย่ายอมแพ้ นั่นเอง
นอกจากนี้ Jack Ma ยังเชื่อว่า คนเราจะเรียนรู้ได้มากที่สุดจากอุปสรรคและความยากลำบาก แต่หลักที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จคือความพยายามไม่ย้อท้อ และเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง
หวังว่าบทเรียนสั้นๆจาก Jack Ma มหาเศรษฐีที่สร้างตัวขึ้นมาด้วยตัวเองจะเป็นกำลังใจให้คุณ และเปลี่ยนความท้อแท้ให้เป็นความพยายามและความหวังนะครับ
Credit: Bloomberg BusinessWeek, LifeHack Photo Credit: LifeHack
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์