Stay hungry. Stay foolish.
– Steve Jobs
ผมเชื่อว่าทั้งสาวก และไม่ใช่สาวกของ Apple จำนวนไม่น้อยคุ้นเคยกับประโยคนี้ของท่านศาสดา Steve Jobs กันดี
เป็นประโยคที่กระตุ้นให้เราไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ถามว่าเรียนรู้ไปเพื่ออะไร?
ก็อาจจะตอบแบบเท่ๆได้ว่า เพื่อเอามาต่อจุด (connect the dots) เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือนวัตกรรมใหม่กับงาน หรือชีวิตของเราเอง
You can’t connect the dots looking forward; you can only connect them looking backwards. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future.
– Steve Jobs
สมมติว่าคุณเชื่อศาสดา Steve Jobs อยากต่อจุดกับเขาบ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? (more…)
เมื่อพนักงานตัดสินใจยื่นใบลาออก นอกจาก HR กับหัวหน้างานจะวุ่นกับการหาคนมาแทน (ถ้ายังไม่ได้เตรียมแผนไว้) อีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรใหญ่ๆมักจะทำคือการทำ Exit Interview หรือสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายก่อนเธอจะไป ซึ่งมักจะทำช่วงสุดท้ายที่พนักงานมาทำงานเพื่อให้พนักงานสบายใจถ้าต้องกล่าวถึงบุคคลอื่นในองค์กร
ในฐานะที่มีโอกาสทำ Exit Interview ผมมองเห็นสิ่งที่หลายองค์กร รวมถึงคนสัมภาษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้น HR พลาดที่จะใช้โอกาสทองนี้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดกับองค์กรเพราะเรื่องต่อไปนี้
ไม่เปิดโอกาสให้พูดหรือระบาย
ไม่ใช่ทุกองค์กรจะมีการคุยกับพนักงานก่อนจากกัน บางทีอาจมีเพียงกระดาษแผ่นเดียว ส่งให้พนักงานกรอก คำถามก็ประมาณ ทำไมถึงออก ออกแล้วไปไหน เงินเดือนเท่าไหร่ ซึ่งเดาได้ไม่ยากว่าพนักงานคงไม่กรอกอะไรมาก นอกจากจะอัดอั้นจนทนไหวแล้วจริง สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการไม่เปิดโอกาสให้พูด คือ พนักงานก็จะหาช่องทางพูด หรือระบายอยู่ดี อาจจะผ่านเพื่อนร่วมงาน หรือ Social Network ต่างๆ ซึ่งเสี่ยงต่อขวัญและกำลังใจของทีมมาก เพราะองค์กรจะไม่มีโอกาสอธิบายว่า สิ่งที่พนักงานระบายกันเองนั้นเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน (more…)
Failure is success in progress.
– Albert Einstein
ผมเคยมีความเชื่อว่าความสำเร็จเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความล้มเหลว
จึงพยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และล้มเหลวเท่าที่ทำได้ เพราะคิดว่าถ้าเราล้มเหลวแสดงว่าความสำเร็จยิ่งอยู่ห่างกับเราเหลือเกิน อาจทำให้ท้อแท้และถอดใจสู้ได้
แม้ตอนหลังจะรู้ว่า คนที่ประสบความสำเร็จทุกคนล้วนต้องผ่านความล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วนมาก่อน และถ้าเราเพิ่มจำนวนครั้งของความล้มเหลวจากความพยายาม (แต่ต้องเรียนรู้ที่จะไม่พลาดเพราะสาเหตุเดิมด้วยนะ) ยิ่งมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น
แต่ปัญหาของคนจำนวนไม่น้อยรวมทั้งผมด้วย คือ ทำอย่างไรถึงจะไม่รู้สึกแย่ หรือกลัวขึ้นเวลาต้องลองอะไรใหม่ๆนอกความคุ้นเคย (comfort zone) ของเรา เพื่อที่เราจะกล้าล้มเหลวได้ง่ายขึ้น และบ่อยขึ้น
หลังจากลองมาหลายวิธี วิธีที่ผมคิดว่าได้ผลที่สุดสำหรับตัวเอง และใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ… (more…)
คุณรู้สึกอย่างไรกับความทะเยอทะยาน?
เวลามีบอกว่าคนนั้นทะเยอทะยานจัง หรือคนนี้ไม่มีความทะเยอทะยานเลย คุณรู้สึกอย่างไรกับสองคนนี้
ส่วนตัว ผมเคยสับสนอยู่พักใหญ่ เพราะมุมนึงก็คิดว่าความทะเยอทะยานเป็นสิ่งที่ดี เป็นพลังให้เราทุ่มเททำให้สิ่งที่อยากได้
แต่อีกมุมนึงก็คิดว่าความทะเยอทะยานเป็นสิ่งที่ไม่ดี ทำให้เราโลภ เห็นแก่ตัว ไม่รู้จักพอ กระสับกระส่ายมองหาวิธีให้ได้มาโดยไม่สนว่าต้องเหยียบคนอื่นขึ้นไป (รึปล่าว?)
ต้องบอกว่าสองความคิดนี้ตีกันในหัวอยู่นานมาก ชักคะเย่อไปมา ไม่รู้ว่าตกลงเราควรจะทะเยอทะยานดีมั้ย?
จนกระทั่งผมอ่านเจอมุมมองต่อเรื่องความทะเยอทะยานที่น่าคิด (more…)
ในแต่ละสัปดาห์คุณใช้เวลาอยู่ในการประชุม กี่ประชุม คิดเป็นกี่ชั่วโมง?
แล้วคุณคิดว่ามีกี่ประชุมที่มีประสิทธิภาพ?
ถ้าคุณเป็นคนนำการประชุมเองคุณจะทำให้ การประชุมของคุณมีประสิทธิภาพกว่า การประชุมอื่นๆที่คุณเข้าร่วมได้อย่างไร?
สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการประชุมมาตลอดชีวิตการทำงาน คือ การประชุมจะดี ไม่ดี มีประสิทธิหรือไม่นั้นความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เวลาประชุม เท่ากับ การเตรียมตัวก่อนการประชุม และการติดตามผลหลังการประชุม
ผมอ่านเจอหลักการ 40-20-40 continuum ของการประชุม จากหนังสือ Meeting Together ของ Lois Graessle และ George Gawlinski ซึ่งผมว่ามีประโยชน์มาก เพราะคนจำนวนไม่น้อย เวลาคิดถึงการประชุม มักจะให้ความสำคัญแค่ช่วงเวลาที่จะประชุม แต่ไม่ได้ใช้เวลา และใส่ใจในการเตรียมตัวก่อน และติดตามผลหลังการประชุมมากพอ (more…)