“ขอเสียงคนอยากรวยหน่อย”
เย่
“ขอเสียงคนอยากมีความสุขหน่อย”
เย่
“ขอเสียงคนอยากทั้งรวยทั้งมีความสุขหน่อย”
เย่
มีใครบ้างที่ไม่อยากรวย ไม่อยากมีความสุข
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อยากทั้งรวย และมีความสุข
หนังสือแนว self-help ก็อ่านมาไม่น้อย ทั้ง Rich Dad Poor Dad, Millionaire Mind สารพัด concept สารพัดคนเขียน
ถามว่าหลักการคิดดีมั้ย? บอกได้เลยว่าดี
แต่… (more…)
[youtube id=”sycgL3Qg_Ak”]
ข้อดีของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของรุ่นพี่ หรือคนที่มีอายุมากกว่า คือ เราไม่ต้องไปเสียเวลาลองผิด ลองถูกด้วยตัวเอง
คลิปนี้ของ CBC Radio น่าสนใจ ตรงที่ให้คนอายุต่าง ๆ มาให้คำแนะนำกับรุ่นน้องที่อายุน้อยกว่าไม่มาก ซึ่งคำแนะนำจะเหมาะสมกับคนในวัยนั้น ๆ เพราะเพิ่งมาช่วงอายุนั้นมา
เริ่มตั้งแต่คำแนะนำสำหรับเด็ก 6 ขวบ จากรุ่นพี่อายุ 7 ขวบ
ไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงคำแนะนำสำหรับคนอายุ 91 ปี โดยคุณปู่วัย 93 ปี
ลองดูนะครับ แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เชื่อว่าศัพท์ไม่ยากเกินความสามารถ แถมยังได้เกร็ดคำแนะนำที่น่าสนใจสำหรับวัยต่าง ๆ อีกด้วย
แขกรับเชิญ [คุยแบบชัชๆ] ท่านที่สอง ผมได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ มาแบ่งปันประสบการณ์ในมุมมองของนักการทูต อาชีพที่น้อยคนจะมีโอกาสได้สัมผัส ตลอดหนึ่งชั่วโมงผมที่สัมภาษณ์ ผมได้เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องเกี่ยวกับงานด้านการทูตที่ไม่เคยทราบมาก่อน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับการทำงาน และการใช้ชีวิตได้ทันที
บทสัมภาษณ์นี้อาจจะยาวซักนิด แต่ผมเชื่อว่าคุ้มค่าเวลาแน่นอนครับ
_____________________________________________________________________________
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- คุณจะฝึกเมตตากับลูกน้องที่ทำให้ปรี๊ดได้อย่างไร
- ป้ายแกะสลักชื่อตัวเอง กับคำสอนสำหรับคนที่เริ่มทำงาน
- ความสอนที่ซ่อนอยู่ในเพลงบัวแก้ว
- จุดแข็งของคนไทย
- สิ่งสำคัญที่สุดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคม หรือประเทศใหม่ที่ไปอยู่
_____________________________________________________________________________
อยากให้ท่านทูตแนะนำตัวเองในมุมที่คนทั่วไปอาจไม่เคยทราบมาก่อน
พี่ชื่อบรรสาน บุนนาค บรรสาน เป็นชื่อที่ล้อมาจากชื่อของคุณพ่อ ซึ่งท่านชื่อ “บรรจบ” สมเด็จพระสังฆราช จวน อุฏฐายี ท่านทรงตั้งให้ ชื่อ”บรรสาน” เป็นคำแผลงของคำว่า “ประสาน” โดยธรรมชาติของชื่อ น่าจะทำหน้าที่ประสานงาน ประสานความสัมพันธ์เรื่องต่าง ๆ ได้ พี่เรียนจบปริญญาตรีที่จุฬาฯ ก่อนไปต่อปริญญาโทที่อเมริกา ที่ University of Detroit, Michigan (more…)
คุณเคยอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีคนที่เรารู้จัก แล้ว(ควร)ต้องทำความรู้จักกับคนแปลกหน้ามั้ย?
อาจจะเป็นวันแรกของการทำงานในบริษัทใหม่ เริ่มงานแผนกใหม่ หรือบริษัทส่งไปอบรมข้างนอกแล้วนั่งข้างคนที่มาจากบริษัทอื่น
ไปทานข้าวกับกลุ่มเพื่อนของแฟน หรือเป็นตัวแทนบริษัทไปงาน networking ทางธุรกิจเพื่อหาลูกค้าใหม่
สำหรับบางคน เรื่องแบบนี้อาจเป็นเรื่องธรรมชาติมาก ไม่เคยมีปัญหากับการทำความรู้จัก หรือสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆที่ไม่เคยรู้จักเห็นหน้ามาก่อน ซึ่งนับว่าโชคดีกว่าคนอื่นไม่ใช่น้อย
แต่ถ้าคุณไม่ใช่คนประเภทนั้นล่ะ?
คุณกลัว ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะคุยเรื่องอะไร ทำตัวอย่างไรดีกับคนที่เพิ่งเจอครั้งแรก
ในใจก็รู้ว่าการไม่คุย หรือทำความรู้จักกับคนใหม่อาจทำให้เสียโอกาสต่างๆในอนาคต อาจทำให้คนอื่นมองว่าเก็บตัว ไม่กล้าแสดงออก
สุดท้ายก็ได้แต่นั่งเงียบๆอยู่คนเดียวอยู่มุมห้อง หยิบมือถือขึ้นมาเล่นแก้เขินไป พร้อมกับภาวนาให้ช่วงเวลานี้ผ่านไปเร็วที่สุด
ถ้าคุณเป็นคนประเภทหลังที่ผมพูดถึง ไม่ต้องเสียใจ ผมมีหลัก 3 ข้อมาแนะนำในการสร้างสัมพันธ์กับคนแปลกหน้ามาฝาก ซึ่งทั้ง 3 ข้อนี้ผมทดลองใช้กับตัวเองแล้วได้ผลดีกว่าที่คิด และช่วยให้ผมไม่กลัวที่จะรู้จักและสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆ
1.) สนใจคนที่เราคุยด้วย (more…)
เพื่อเป็นการขอบคุณผู้อ่านที่สนใจติดตาม blog เล็กๆของผม ผมก็พยายามหาวิธีขอบคุณด้วยการเพิ่มคุณค่าแบบต่างๆให้กับ blog นี้ ตอนนี้ในหัวมีหลายเรื่องอย่างที่อยากทำ หนึ่งในนั้นคือการเปิดช่วงใหม่ [คุยแบบชัชๆ] ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์คนที่น่าสนใจจากสายอาชีพต่างๆ โดยเน้นนำเสนอมุมมอง และเทคนิคการประยุกต์ใช้กับการทำงานของหนุ่มสาวยุคใหม่ เหมือนการเรียนลัดจากประสบการณ์ตรง
สำหรับแขกรับเชิญคนแรก อ.ธงชัย โรจน์กังสดาล ซึ่งแม้จะเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวะที่ผมเรียน แต่ผมกลับรู้จักอาจารย์ครั้งแรกจากเรื่องการฝึกโยนลูกบอล 3 ลูก (juggling) ซึ่งดูแปลกตาสำหรับอาจารย์สอนภาควิศวะคอมพิวเตอร์
อ่านแล้วมีคำแนะนำ ติชม เพื่อพัฒนาตอนต่อๆไปให้ดีขึ้น เชิญที่ comment ด้านล่าง ขอบคุณครับ
_____________________________________________________________________________
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- ความหมายของนวัตกรรมที่ไม่จำกัดอยู่แค่นักวิจัย
- 5 ทักษะของนวัตกร และวิธีการประยุกต์ใช้
- 3 เทคนิคการนำเสนอจาก TED Talk
- ทำอย่างไรถ้าหา passion ในการทำงานไม่เจอ
_____________________________________________________________________________