ผมรู้จักพี่ชายคนนี้ครั้งแรกตอนน้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปี 2010 ตอนเราเป็นอาสาสมัคร และได้ใช้ social network ในการประสานงาน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่าน #TWT4TH ทุกครั้งที่ผมได้เจอ ผมได้สัมผัสถึงความสามารถ และพลังบวกของพี่ชายคนนี้ ภายใต้รอยยิ้ม และความเป็นกันเอง
[คุยแบบชัชๆ] ครั้งนี้ ผมได้รับเกียรติจาก คุณรณพงศ์ คำนวณทิพย์ หรือพี่รอน ปัจจุบันนอกจากดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวอร์ซัล มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด แล้วยังสวมหมวกในบทบาทอื่นอีกหลายใบ ในบทสัมภาษณ์นี้ ผมได้มีโอกาสถามถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการบริหาร รวมไปถึงเรื่องธรรมะ และการพัฒนาตัวเองที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับอีกหลายคนที่กำลังทำงานอยู่
_____________________________________________________________________________
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
- เทคนิคการบริหารเวลา
- เทคนิคในการบริหารทีม และการฟัง
- ทำงานจากความว่างเปล่า
- วิธีการบริหารคนที่ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน
- คำแนะนำสำหรับน้อง ๆ ที่อยากประสบความสำเร็จในบริษัทข้ามชาติ
_____________________________________________________________________________ (more…)
เวลาผมดูหนังสายลับ ไม่ว่าจะเป็น James Bond, Mission Impossible, Jason Bourne นอกเหนือจากอุปกรณ์ gadget เท่ ๆ สิ่งหนึ่งที่ผมอดทึ่งไม่ได้ คือ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ข้อมูลภายใต้ความกดดันและเวลาที่จำกัด ก่อนจะตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง
วันก่อนผมอ่านหนังสือสั้น ๆ เล่มหนึ่ง เขียนโดยอดีต CIA เล่าเรื่องวิธีการคิดของสายลับ ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจ และเอามาใช้ได้จริง เลยขอถอดกระบวนวิธีคิดของสายลับมาเล่าสู่กันฟัง
พูดถึงวิธีการคิด ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน (รวมถึงผมด้วย) เริ่มจากการหาข้อมูล เพื่อหาทางเลือก และประกอบการตัดสินใจ ก่อนจะตัดสินใจทำอะไรซักอย่าง
ปัญหาที่เราเจอในปัจจุบันไม่ใช่หาข้อมูลที่ต้องการได้ยาก แต่เป็นตรงกันข้ามคือข้อมูลเยอะมาก จนไม่รู้จะเริ่มตรงไหน หรือเท่าไหร่ถึงจะพอ
หลายครั้งที่เราติดอยู่ที่ขั้นนี้ ใช้เวลาเก็บข้อมูลมาก มีข้อมูลเยอะแยะ แต่ก็ยังไม่กล้าตัดสินใจ เพราะไม่มั่นใจว่าข้อมูลที่เรามีครอบคลุมทุกทางเลือกหรือยัง
สำหรับวิธีการคิดของสายลับ ซึ่งปรับมาจากวิธีทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เริ่มจากการเก็บข้อมูล
ถ้าเราจำการทดลองสมัยมัธยมได้ กระบวนการทดลองไม่ได้เริ่มจากการเก็บข้อมูล แต่เริ่มจากการสร้างสมมติฐานก่อน
เช่น แสงแดดมีผลต่อการงอกของถั่วเขียว เป็นต้น
เมื่อได้สมมติฐาน ถึงจะเริ่มทำการทดลองเก็บข้อมูล ปลูกถั่วเขียวในห้องมืด เทียบกับปลูกในห้องปกติ แล้วจดบันทึกการงอกก็ว่าไป ก่อนนำข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์ สรุปผล และตัดสินใจว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่
กระบวนการคิดของสายลับ CIA ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน โดยมีลำดับดังนี้
Data – Analysis – Decision – Action (more…)
เคยสงสัยมั้ยครับว่าทำไมคนที่ขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรอย่าง CEO หรือ MD มักเป็นผู้บริหารที่โตขึ้นมาจากสายธุรกิจ เช่น สาย Sales หรือ Marketing หรือไม่ก็จากฝั่ง Finance
หาได้น้อยรายที่จะข้ามจากฝั่ง support function อย่าง QA, IT, HR ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กร
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการจะเป็นผู้บริหารองค์กรที่ดี นอกจากทักษะเฉพาะทางตามสายงานตัวเองซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานแล้ว การเข้าใจภาพรวมของธุรกิจ เข้าใจตัวเลขทางการเงินขององค์กรก็มีความสำคัญ ในการพาองค์กรให้เติบโตไปข้างหน้าได้
นี่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ Business Acumen (อ่านเจอหลายคำแปล แต่ผมชอบคำว่า ความเฉียบคมทางธุรกิจ มากที่สุด) กลายเป็นทักษะหนึ่งที่หลายองค์กรพูดถึงและให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
คนที่อยู่ในฝั่งธุรกิจโดยตรงจะได้เปรียบ เห็นภาพได้ง่ายหน่อย เพราะตรงกับงานที่ทำ ทั้งยอดขาย กิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลโดยตรงกับกำไรของบริษัท
แต่ใช่ว่าคนที่อยู่ในแผนกสนับสนุน หรือ support function เช่น QA, IT, HR ก็ไม่ต้องน้อยใจว่าจะไม่มีโอกาสพัฒนาทักษะด้านนี้ซึ่งมีความสำคัญมากกับการก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารองค์กรในอนาคต
ผมขอแนะนำ 3 วิธีที่คุณสามารถเพิ่มความเฉียบคมทางธุรกิจของตัวคุณได้ โดยไม่ต้องง้อ training ที่ไหน
1. ทำความเข้าใจกระบวนการสำคัญหลัก ๆ ในบริษัท
เริ่มจากการรู้จักสินค้า หรือบริการของบริษัท แล้วขยายมาถึงกระบวนการสำคัญหลัก ๆ ในการขาย การตลาด R&D รวมไปถึงด้านการผลิต และ Supply Chain โดยอาจเริ่มจากแผนผังองค์กรเพื่อเข้าใจภาพใหญ่ในการแบ่งการบริหาร แล้วพยายามทำศึกษากระบวนการหลัก ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างแผนก ด้วยตัวเอง ผ่านข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ทั้งภายใน และภายนอกบริษัท สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ข้อมูลและข่าวเกี่ยวกับบริษัทจะสามารถหาได้ง่ายขึ้นจากสื่อต่าง ๆ (more…)
หลังจากเรียนจบ การเริ่มชีวิตทำงานถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชีวิต ทั้งความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น และการปรับตัวเข้ากับองค์กร และเพื่อนร่วมงานในหลายระดับ
ในอิสระที่มีมากขึ้นจากตอนเรียน หลายคนกลับรู้สึกเคว้งกับทางเลือก และบทบาทใหม่ของตัวเองในโลกการทำงาน
บางคนโชคดีมีหัวหน้า หรือรุ่นพี่ที่ทำงานคอยแนะนำ ชี้แนะ แต่อีกหลายคนไม่มีคนช่วยเตือน รอวันพลาด ก่อนโดนรับน้องชุดใหญ่
คงจะดีไม่น้อย ถ้ามีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ ตอนที่ก้าวสู่โลกการทำงาน เพราะคำแนะนำดี ๆ อาจทำให้ชีวิตการทำงานของเราพัฒนาไปก้าวกระโดดอย่างคาดไม่ถึง
แต่ใครล่ะที่น้อง ๆ จะขอคำปรึกษาได้ ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นคนรอบตัวที่รู้จัก รุ่นพี่ที่เรียนมาด้วยกัน ซึ่งอาจไม่เห็นภาพกว้าง หรือมีประสบการณ์มากพอจะให้คำแนะนำ
ส่วนตัวก็มีน้อง ๆ มาขอคำแนะนำอยู่บ้าง แม้จะให้คำแนะนำไปตามประสบการณ์ที่พอมี แต่เชื่อว่าคงจะดีกว่า ถ้าเราขอคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูง หรือ HR ที่ผ่านประสบการณ์การทำงานมาโชกโชนทั้งไทย และต่างประเทศ
นี่จึงเป็นที่มาของ project เล็ก ๆ ที่ผมตั้งใจรวบรวมคำแนะนำ เพื่อเป็นของขวัญแบบ pay it forward เนื่องในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนเกิดของตัวเอง
คำถามที่ผมส่งไปหาผู้บริหารคือ
What would be your one career advice for new grads?
และนี่คือคำตอบจากผู้บริหารมากประสบการณ์ทั้ง 26 ท่าน ซึ่งผมถือว่ามีค่ามาก ถ้าเก็บไปคิด และนำไปปรับใช้ (more…)
![](https://www.chutchapol.com/wp-content/2016/07/panel.jpg)
หลังจากที่ Mr. Mark Allin แบ่งปัน Insights from the Global Workforce ในช่วงแรก ก็เป็นช่วงของ Panel โดยตัวแทนจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ ประกอบด้วย
Panellist
Mr. Ng Cher Pong, Chief Executive, Singapore Workforce Development Agency (WDA)
Mr. Mark Allin, President and CEO, Wiley
Ms. Tricia Duran, HR Director, Unilever Asia
Dr. Winter Nie, Professor of Operations and Service management, IMD
Ms. Wong Su-Yen, CEO, Human Capital Leadership Institute – ผู้ดำเนินรายการ
ประเด็นที่น่าสนใจ
- แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของความต้องการในภาคธุรกิจ
- ภาคธุรกิจให้ความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือใบปริญญาน้อยลง และเพิ่มความสำคัญเรื่อง Competency มากขึ้น
- จาก technical skills สู่ soft skills เพราะ technical skills หลายอย่างหุ่นยนต์เริ่มทดแทนได้
- การเรียนรู้แบบอัดแน่นก่อนทำงาน (front-load) มาเป็นการศึกษาแบบต่อเนื่อง จากสถาบันการศึกษา ต่อมายังที่ทำงาน
- เทคโนโลยีเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปได้
- ภาครัฐของสิงคโปร์พยายามผลักดัน SkillsFuture เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตให้กับคนสิงคโปร์