การเรียนรู้ในโลกยุคดิจิตอล

ผมอ่านเจอ infographic จากรายงานของ Bersin by Deloitte มีข้อมูลน่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับทั้งสำหรับผู้เรียน และผู้สอนในยุคปัจจุบัน เลยเก็บมาฝากกันครับ

Interesting Facts:

  • ในยุคดิจิตอล ข้อมูลมากมายมหาศาลทุกช่องทางส่งผลให้
    • ถูกรบกวนตลอด ไม่มีสมาธิ (Distracted)
      • หยิบมือถือขึ้นมาดูชั่วโมงละ 9 ครั้ง
      • ถูกสารพัด Website, App, VDO clip ดึงความสนใจทั้งวัน
      • ถูกรบกวน ขัดจังหวะทุก 5 นาที จาก work application หรือ collabolation tool ต่าง ๆ
    • ไม่มีความอดทน (Impatient)
      • คนส่วนใหญ่ไม่ทนดู VDO clip ยาวกว่า 4 นาที
      • ถ้าเนื้อหาไม่โดนใน 5-10 วินาทีแรก ก็จะไม่สนใจเนื้อหาหลังจากนั้น
    • สำลักข้อมูล (Overwhelmed)
      • 41% ของเวลาทำงานใช้ไปกับสิ่งที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดี แต่งานไม่เดิน
      • 2 ใน 3 ของพนักงานบ่นว่าไม่มีเวลาทำงาน
  • ทั้งที่ทุกคนรู้ว่าเราต้องพัฒนาตัวเองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อไม่ถูกหุ่นยนต์แย่งงาน แต่โดยเฉลี่ย พนักงานใช้เวลาเพียง 1% ไปกับการอบรมและพัฒนาตัวเองเท่านั้น!
  • Half-life ของทักษะการทำงานปัจจุบันส่วนใหญ่เหลือเพียง 2.5-5 ปี
  • 80% ของการเรียนรู้มาจากประสบการณ์ทำงาน โดยเรียนรู้ได้จากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน

What does it mean for the learner?

  • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเองมากขึ้น
  • เลือกรับสื่อ และการใช้เวลากับกิจกรรมที่ดูดเวลาไปโดยไม่รู้ตัว
  • ลดการทำหลายอย่างพร้อมกัน (Multi-tasking)
  • เรียนรู้เพิ่มเติมจากเพื่อนร่วมงานด้วยการถาม และแบ่งปันความรู้

(more…)


ความขัดแย้งกับการทำงานเป็นเรื่องที่หลายคนพยายามหลีกเลี่ยง ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องปกติของการทำงาน ผมเคยอ่านเจอตลกฝรั่งเรื่องหนึ่ง หัวหน้าบอกกันลูกน้องที่เป็น Yes man หรือเห็นด้วยกับทุกอย่างที่หัวหน้าบอก ไม่เคยขัดแย้ง หรือมีความเห็นต่างว่า

ถ้าคนสองคนทำงานด้วยกันแล้วมีความเห็นเหมือนกันทุกเรื่อง แสดงว่ามีคนหนึ่งที่ไม่จำเป็น… และคนนั้นไม่ใช่ผม!

แม้ความขัดแย้งในการทำงานจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ แต่มุมมองและวิธีการแก้ความขัดแย้งต่างหากที่จะทำให้เราได้ประโยชน์จากความขัดแย้งนั้น

เรามาดูวิธีที่คนส่วนใหญ่รับมือกับความขัดแย้งกันก่อน เมื่อเกิดความขัดแย้งหลายคนจะพยายามหาว่า…

1. มีปัญหาอะไร (What’s wrong?)

คำถามนี้ดูเหมือนเป็นคำถามที่ควรถามเพื่อหาปัญหา แต่การเลือกใช้คำว่า “ปัญหา” ทำให้กรอบความคิดของเรามุ่งไปฟังเรื่อง (story) จากแต่ละฝ่ายมากกว่าข้อเท็จจริง

2. ใครผิด (Whose fault?)

ปัญหาก็ต้องมาพร้อมกับคนก่อปัญหา ใครเป็นตัวปัญหา หรือใครต้องรับผิดชอบ บอกมานะ!

3. จะลงโทษคนที่ทำผิดอย่างไร (How to punish?)

ได้ตัวคนผิดแล้ว เราจะลงโทษคนผิดอย่างไหน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือความขัดแย้งแบบนี้อีกในอนาคต

คำถามแบบนี้ดูคุ้น ๆ มั้ยครับ?

การแก้ความขัดแย้งด้วยคำถามแบบนี้ นอกจากสาเหตุของความขัดแย้งก็ยังอยู่เหมือนเดิม ยังทำให้คนก็จะพยายามเลี่ยงด้วยการไม่เถียง หรือแสดงความเห็นที่อาจขัดแย้งกับคนอื่นในอนาคต ซึ่งอาจทำให้องค์กรไม่ได้ใช้ความคิดที่ดีที่สุดในการทำงาน

ผมขอแนะนำ 3 คำถาม เพื่อช่วยคุณแก้ความขัดแย้งกับคนอื่นในครั้งต่อไป (more…)

[Mentor Profile] Head of HR Asia Pacific ดูแลพนักงานมากกว่า 15,000 คน

Me: คุณคิดว่าคุณสมบัติอะไรของผู้นำที่สำคัญมาก แต่ผู้นำส่วนใหญ่ขาดอยู่ครับ

Mentor: กล้าตัดสินใจ และกล้ามี tough conversation

Me: ช่วยขยายความหน่อยครับ

Mentor: ปัญหาขององค์กรปัจจุบันมากกว่า 90% มาจากผู้นำ องค์กรจะเดินไปข้างหน้าช้ามาก หรือไม่ไปไหนเลย ถ้าผู้นำไม่กล้าตัดสินใจ บางคนนั่งอยู่เฉย ๆ ไม่ตัดสินใจเลย บางคนทราบปัญหาแล้วก็ส่งต่อให้ผู้บริหารระดับสูงกว่าตัดสินใจ ผมมองว่าสาเหตุหลักมาจาก 2 เรื่อง คือ กลัวตัดสินใจผิด กับไม่กล้าสื่อสารการตัดสินใจ หรือมี tough conversation กับทีม

Me: น่าสนใจมาก

Mentor: หน้าที่ของผู้นำ และผู้บริหารคาดหวังคือ การตัดสินใจ ถ้าคุณไม่ตัดสินใจ คุณก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของผู้นำ และเมื่อคุณตัดสินใจแล้ว แม้การตัดสินใจนั้นจะเป็นข่าวร้ายกับคนในทีม เช่น การปรับองค์กร แล้วต้องให้พนักงานออก แต่การหลบเลี่ยง ไม่กล้ามี tough conversation จะยิ่งส่งผลกับในแง่ลบกับตัวผู้นำ และองค์กร

Me: หมายความว่า ผู้นำไม่ควรมีอารมณ์ยึดติด (attached emotion) กับพนักงานรึเปล่าครับ

Mentor: ตรงกันข้ามเลย ถ้าคุณไม่รู้สึกอะไรเลยกับการบอกข่าวร้าย หรือให้พนักงานออก คุณไม่ใช่ผู้นำที่ดี จนถึงทุกวันนี้ ผมก็ยังไม่เคยชิน และเสียใจทุกครั้ง ที่ต้องบอกข่าวร้าย แต่นี่คือหน้าที่ของผม สิ่งที่ผมทำได้คือ ให้ feedback ตรง ๆ ด้วยความหวังดี และให้เกียรติพนักงานทุกคน

Me: ขอบคุณครับ

ถ้าคุณไม่รู้สึกอะไรเลยกับการบอกข่าวร้ายกับพนักงาน คุณไม่ใช่ผู้นำที่ดี


ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe

rich-mindset-cover

**Disclosure: บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)**

เวลาได้ยินคำว่า เศรษฐี คุณนึกถึงอะไร?

หลายคนนึกถึงคนมีบ้านหลังใหญ่ ขับรถสปอร์ต ใช้ของแบรนด์เนม อยากซื้ออะไรก็รูดบัตรเครดิตซื้อได้โดยไม่ต้องกังวล ดูเป็นชีวิตที่น่าอิจฉาไม่ใช่น้อย

คนส่วนใหญ่ถึงพยายาม หาวิธีเป็นเศรษฐี หรืออย่างน้อยก็ขอให้มี lifestyle บางส่วนเหมือนเศรษฐีไว้โชว์เพื่อน ๆ บนโลกโซเชียลบ้างก็ยังดี บางคนยอมเป็นหนี้บัตรเครดิตเพื่อผ่อนซื้อของราคาแพงมาอวดคนอื่น ซึ่งไม่ใช่หนทางของเศรษฐี

ถ้าคุณอยากเป็นเศรษฐีตัวจริง คุณต้องมองผ่านวัตถุภายนอก ให้ถึงวิธีคิดแบบเศรษฐี ซึ่งเป็นที่มาของรายได้ และทรัพย์สินที่เรามองเห็น

จากที่ผมรู้จักกับเศรษฐี และอ่านหนังสือชีวประวัติของมหาเศรษฐีมาไม่น้อยจนเริ่มเห็นรูปแบบ จึงขอแชร์ความคิดของเศรษฐี 3 เรื่องที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

1. เป็นผู้ให้

คุณอาจจะเถียงว่า “เป็นเศรษฐี ก็ให้ได้สิ รอให้ฉันเป็นเศรษฐีก่อน ฉันก็จะให้เหมือนกัน แต่ตอนนี้ฉันไม่พร้อม ขอเก็บให้ตัวเองก่อน” แม้อาจฟังดูตลก แต่การเป็นผู้ให้คือหนึ่งในเคล็ดลับของเศรษฐี เพราะเมื่อคุณให้ แสดงว่าคุณมี เพราะถ้าไม่มีก็ให้ไม่ได้ (more…)

[Mentor Profile] Global HR Director, อายุ 40 ต้น ๆ ประสบการณ์ทำงานใน  5 บริษัทใน 4 ประเทศ  

Mentor: คุณรู้รึเปล่าว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผมได้ offer งานดี ๆ และเปลี่ยนงานทั้งในบริษัท และย้ายไปบริษัทอื่นโดยไม่ได้ใช้ resume เลย

Me: โห คุณทำได้ยังไงครับ?

Mentor: เคล็ดลับอยู่ที่ผลงานของคุณ ทุกอย่างที่คุณส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นอีเมล หรือไฟล์ต่าง ๆ เช่น PowerPoint presentation หรือไฟล์ Excel ที่เป็นผลงานที่มีชื่อคุณ คุณต้องทำให้ดีที่สุดเสมือนเป็นตัวแทนคุณ

Me: ทำไมเหรอครับ?

Mentor: คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอีเมล หรือไฟล์งานที่คุณส่งออกไปนั้น จะถูก forward ไปหาใครต่อ หรือ ใครจะได้อ่าน คุณรู้มั้ยว่าผมรู้เลยว่า Excel ไฟล์ไหนที่ทำให้ผมได้งานในอีกประเทศ ผมถึงตั้งใจ 120% ทุกครั้งก่อนส่งไฟล์ออกไปในชื่อของเรา ถ้าสิ่งที่เราทำดีมากพอ จะมีคนสังเกต ตามหาเจ้าของไฟล์ และชวนไปคุยงานที่ต้องการความสามารถของเรา

Me: ขอบคุณครับ

คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอีเมล หรือไฟล์งานที่คุณส่งออกไปนั้น จะถูก forward ไปหาใครต่อ หรือ ใครจะได้อ่าน เพราะฉะนั้น เช็คให้ดีก่อนจะส่งไฟล์ต่าง ๆ ออกไป เพราะนั้นอาจเป็นไฟล์ที่ทำให้คุณได้งานต่อไปก็ได้


ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์

Click Here to Subscribe