การวางแผนในโลกที่ไม่มีแบบแผน

Reflection / 12 December 2011 / 1946

การวางแผน…

เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราถูกสอนตั้งแต่เด็กๆว่า ชีวิตเราถ้าจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการวางแผน

พอโตขึ้นมาเข้าสู่โลกการทำงาน เราก็เจอส่วนงาน หรือแผนกเกี่ยวกับการวางแผน สารพัดแผน ทั้ง Corporate Planning, Strategy Planning, Bla Bla Planning

แต่สิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าหลายๆคนสังเกต คือ ไม่ว่าเราจะวางแผนดีแค่ไหน สิ่งที่เราเจอจริงๆจะเป็นไปตามแผนน้อยมาก (ถึงน้อยที่สุด)

กลายเป็นเรื่องตลกทั้งน้ำตา เมื่อแผนกที่ชื่อเกี่ยวกับการวางแผน กลายเป็นแผนกที่ทำงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากที่สุด

ผมเลยสงสัยมั้ยว่าแล้วเราจะวางแผนไปทำไม?

วันก่อนที่บริษัทมีผู้บริหารระดับสูง(มาก)มาเยี่ยมที่โรงงาน

ผมได้มีโอกาสถามท่านถึงกลยุทธ์ในการบริหารการผลิตสินค้าในโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงในปัจจุบัน ทั้งแผ่นดินไหว น้ำท่วม ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป

ซึ่งแน่นอนว่าแผน Business Continuity Plan (BCP) เป็นส่วนหนึ่งที่จะพยายามที่จะครอบคลุมและลดผลกระทบทางธุรกิจจากเหตุการณ์ต่างๆ

ท่านบอกว่าแม้ความเป็นจริงจะไม่ตรงกับแผนที่วางไว้ ก็ยังจำเป็นต้องมีแผนอยู่ดี (ลองคิดภาพน้ำท่วมโรงงานโดยไม่มีแผนอะไร คงดูไม่จืด)

แต่สิ่งที่ท่านเสริมหลังจากมีแผนแล้ว คือ ความเก่งของคนที่จะปรับแผนนั้นให้เข้ากับสถานการณ์

โดยเฉพาะการให้อำนาจการตัดสินใจปรับเปลี่ยนแผนลงไปให้ใกล้กับหน้างานที่สุด

เพราะทีมหน้างานจะรู้สถานการณ์ดีที่สุด และแน่นอนว่าคุณต้องมั่นใจว่าเขาเก่งพอที่จะรับผิดชอบได้

พนักงานฟังแล้วซึ้งกันเลยทีเดียว…

ส่วนตัวผมยังเชื่อว่าการวางแผนระดับบริษัท หรือองค์กรยังเป็นสิ่งจำเป็นต้องมี จะตรงไม่ตรงก็ต้องปรับกันไป

แต่ระดับบุคคล ผมกลับเริ่มเห็นต่างว่าชีวิตเราควร Go with the flow แล้ว Connecting the dots มากกว่าทำแผนให้ชีวิตยุ่งยากกว่าที่เป็นอยู่

(สงสัยถูกศาสดาล้างสมอง :P)

แล้วคุณล่ะ คิดว่าการวางแผนเป็นสิ่งจำเป็นมั้ย?

 

“He who fails to plan is planning to fail” – Winston Churchill