หลังจากเรียนจบ การเริ่มชีวิตทำงานถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชีวิต ทั้งความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น และการปรับตัวเข้ากับองค์กร และเพื่อนร่วมงานในหลายระดับ
ในอิสระที่มีมากขึ้นจากตอนเรียน หลายคนกลับรู้สึกเคว้งกับทางเลือก และบทบาทใหม่ของตัวเองในโลกการทำงาน
บางคนโชคดีมีหัวหน้า หรือรุ่นพี่ที่ทำงานคอยแนะนำ ชี้แนะ แต่อีกหลายคนไม่มีคนช่วยเตือน รอวันพลาด ก่อนโดนรับน้องชุดใหญ่
คงจะดีไม่น้อย ถ้ามีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ ตอนที่ก้าวสู่โลกการทำงาน เพราะคำแนะนำดี ๆ อาจทำให้ชีวิตการทำงานของเราพัฒนาไปก้าวกระโดดอย่างคาดไม่ถึง
แต่ใครล่ะที่น้อง ๆ จะขอคำปรึกษาได้ ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นคนรอบตัวที่รู้จัก รุ่นพี่ที่เรียนมาด้วยกัน ซึ่งอาจไม่เห็นภาพกว้าง หรือมีประสบการณ์มากพอจะให้คำแนะนำ
ส่วนตัวก็มีน้อง ๆ มาขอคำแนะนำอยู่บ้าง แม้จะให้คำแนะนำไปตามประสบการณ์ที่พอมี แต่เชื่อว่าคงจะดีกว่า ถ้าเราขอคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูง หรือ HR ที่ผ่านประสบการณ์การทำงานมาโชกโชนทั้งไทย และต่างประเทศ
นี่จึงเป็นที่มาของ project เล็ก ๆ ที่ผมตั้งใจรวบรวมคำแนะนำ เพื่อเป็นของขวัญแบบ pay it forward เนื่องในเดือนสิงหาคมเป็นเดือนเกิดของตัวเอง
คำถามที่ผมส่งไปหาผู้บริหารคือ
What would be your one career advice for new grads?
และนี่คือคำตอบจากผู้บริหารมากประสบการณ์ทั้ง 26 ท่าน ซึ่งผมถือว่ามีค่ามาก ถ้าเก็บไปคิด และนำไปปรับใช้
อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร comment ฝากไว้ข้างล่างด้วยนะครับ
คุณธนา เธียรอัจฉริยะ
Chairman of the Executive Committee, Digital Ventures
พี่จิก ประภาส ชลศรานนท์ สุดยอดนักคิดของไทย เคยบอกไว้ว่า การตัดสินใจที่ถูกมาจากประสบการณ์ ประสบการณ์มาจากการตัดสินใจที่ผิด การตัดสินใจที่ผิดมาจากความกล้า…
ถ้ามีทางเลือก ให้เลือกทางยากอย่าเลือกงานง่ายและสบาย เลือกความรู้และประสบการณ์ก่อนค่าตอบแทน เลือกหัวหน้าที่เก่งและสอนเราได้ก่อนหัวหน้าใจดี เวลาทำงานให้ทำเกินเข้าไว้ อาสาทำในงานที่ไม่มีใครอยากทำ เลือกงานที่อาจผิดพลาดล้มเหลวก่อนงานที่ไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย
fail faster success sooner ครับ :)
Betty Liu
Founder/CEO, Radiate, Inc.
My advice would be to realize that there is no “secret” to success. We all wish there were but the real secret is you have to work very hard to be successful.
Some people are lucky but that is 0.000001% of the population. The rest of us have to work very hard to achieve success and that includes me.
So, don’t be afraid of hard work, keep your eyes on the goal and don’t look back!
คุณประสิทธิ์ องอาจตระกูล
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
เรียนรู้ ก่อน เรียกร้อง
คุณคาซุโอะ อินาโมริ ผู้ก่อตั้งบริษัท เคียวเซเร่ (Kyocera) และยังเป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มาบริหารสายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น (JAL) ได้ให้สูตรความสำเร็จของชีวิตไว้ว่า
ผลลัพธ์ของชีวิตและการทำงาน = ความสามารถ x ความพยายาม x ทัศนคติ
คนทำงานที่ประสบความสำเร็จ จึงไม่ได้เริ่มจากคำถามว่า “งานนี้ผลตอบแทนดีหรือไม่” “งานนี้ก้าวหน้าหรือไม่” หรือ “งานนี้เราชอบหรือไม่” แต่จะเริ่มจากคำถามที่ว่า
“เรามีความสามารถเพียงพอหรือไม่” “เราพยายามเต็มที่แล้วหรือไม่” และ “เรามีทัศนคติที่ดีแล้วหรือไม่”
อย่าเริ่มทำงานด้วยการ “เรียกร้อง” แต่ควรเริ่มทำงานด้วยการ “เรียนรู้”
เรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถมากขึ้น เรียนรู้ที่จะไม่ย่อท้อต่ออะไรง่ายๆ และเรียนรู้ที่จะมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งเมื่อเรา “เรียนรู้” อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้อย่างมากพอ สิ่งที่เราต้องการก็จะมาหาเราเอง โดยที่เราไม่ต้อง “เรียกร้อง” เลย
คุณปรเมศวร์ มินศิริ
ผู้บริหาร Kapook.com
ช่วงเริ่มทำงานใหม่ ๆ เป็นโอกาสทองที่จะได้ลองผิดลองถูก ถือเป็นช่วงการเรียนรู้อีกช่วงหนึ่งที่จะได้เรียนนอกตำรามากขึ้น อยากให้น้อง ๆ มองในมุมนี้แล้วกล้าคิดกล้าทำในสิ่งต่างๆดีกว่าที่จะไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวผิด เพราะจะเสียโอกาสในการเรียนรู้อันมีค่าไปนะครับ
คุณฉกาจ ชลายุทธ
Head of Strategic Marketing, Samart Multimedia and Phoinikas Agency
จงจำไว้ว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่นั้นเป็นภาคทฤษฎี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีพื้นฐานในการทำงาน แต่การที่จะต่อยอดจากพื้นฐานนั้นได้ประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งหมด เพราะฉะนั้นเมื่อจบออกมาจงหาประสบการณ์ต่าง ๆ เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การไปฟังการบรรยาย การไปเที่ยวเก็บประสบการณ์รวมถึงการลองฝึกงานต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อหาตัวเองให้เจอ เก็บประสบการณ์เหล่านั้นไว้ให้เป็นจุดในชีวิตที่เชื่อมต่อกันให้มากที่สุด แล้วจะพบว่าประสบการณ์นั้นจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ให้เราไปหาจุดหมายต่าง ๆ ได้ในชีวิต และจะสามารถไปทำงานสายไหนก็ได้เพราะประสบการณ์จะสอนเราในบทเรียนที่จริงเอง
นอกจากนี้อยากแนะนำว่า อย่ายึดติดสถาบัน อย่ายึดติดอีโก้ในสายที่เรียนมา เพราะในความจริงแล้วโลกของการทำงานนั้นไม่ได้วัดกันที่เกรดที่จบ สถานที่การศึกษา แต่วัดกันที่ผลงานว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง คนไม่มีผลงานในชีวิตกับคนที่มีผลงานในชีวิต บริษัทนั้นเลือกคนที่มีประสบการณ์แบบที่กล่าวข้างต้นมากกว่า ยิ่งมีอีโก้เพราะจบที่ดัง ๆ มา เรียกเงินเดือนแพง ๆ ยิ่งทำให้คุณนั้นหางานยากขึ้น
ดร.การดี เลียวไพโรจน์
Managing Director, C asean
Don’t chase the money. Do your very best in every opportunity and every challenge and the money will soon chase you.
คุณอาวีกาญจน์ พันธุ์เสงี่ยม
Co-founder, Certified trainer & coach, Productive Plus Co., Ltd.
อดทน ทุ่มเททำงานให้เต็มที่ และหาโอกาสทำงาน project ที่นอกเหนือไปจากหน้าที่ประจำ นอกจากจะได้ประโยชน์ในการทำงาน เพราะเราจะสามารถมองเห็นภาพใหญ่แล้ว การทำงานเยอะ ก็คือการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ช่วยให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น ว่าเรามีทักษะ หรือความถนัดในด้านไหน ชอบไม่ชอบอะไร การทำงานกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และทีมงานที่หลากหลาย ยังช่วยให้เราพัฒนาทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร และการสร้าง network ซึ่งมีความสำคัญในการเติบโตขึ้นไปในอนาคต ในการทุ่มเททำงานในลักษณะนี้ สิ่งที่ไม่ควรลืมคือการดูแลสุขภาพ และความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว รวมทั้งเพื่อน ๆ ด้วย
คุณสรวุฒิ หรณพ
Country Human Resources VP, Thailand & Laos, Schneider Electric Thailand
ก้าวแรกของการทำงานสำคัญมากกับเป้าหมายการงานของชีวิต คิดให้รอบคอบ ระหว่าง 4 ความสัมพันธ์
1. ความสามารถ/ความใฝ่ฝันของตัวเรา (Individual Competency)
2. ลักษณะงานที่ขอบ(Job competency)
3. หัวหน้า (Management) และ
4. Culture ขององค์กร
ทั้ง 4 ตัวนี้ต้องสัมพันธ์กัน
Boon Kit Foong
Supply Network Operations Associate Director, P&G Malaysia/Singapore/Brunei
My advice would be finding the desire to grow. Desire to grow will the fuel/passion to overcome obstacles, to help us to get up when we fell down, to keep us going no matter where one started, or disadvantaged or stereotyped.
Leonard Lee
Senior Director, Head of Leadership and Talent Development (Asia-Pacific), Hilton Worldwide
I think if there ever is a piece of advice which I can give to new graduates, it would be this –
Ask.
It is that simple. When you are young, you have nothing much to lose and what’s the worst that can happen anyway? The worst that can happen is the answer comes back a NO.
I speak from personal experience. I asked my first company to send me to do my Masters overseas (when I hadn’t even joined the company yet), and I got what I asked for, and it changed my career and life. That was the biggest lesson for me as a young about-to-graduate person.
Thus, be brave. Ask
– questions pertaining to the job,
– to be involved in a project that interests you,
– for that job assignment overseas
– for that promotion
Umesh Phadke
President Director, PT L’Oréal Indonesia
The one advice I would give to people starting their career right now is to remain extremely agile because industries, jobs and life in general are being disrupted everyday. Things that are relevant today will become redundant tomorrow and hence intellectual agility will become a basic necessity moving forward.
The ability to unlearn what you are good at and learn something totally new to keep your self employable will be of pramount importance. Take the example of call-centers which are a big employer of people today. When chatbots and AIs like Siri Cortana or S Voice become just a bit more sophisticated, call centers manned by human beings will disappear almost immediately. In that case thousands if not hundreds of thousands of people will be laid off. How they will get themselves gainfully re-employed is something they’ll have to figure out themselves.
In summary I would say that the willingness to continually learn something new and the readiness to give up what you have learned and invested it in the past is a skill and a mindset that I would encourage all new graduates to have.
คุณธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์
Regional Director – Thailand and Vietnam, Adecco Group Thailand
สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ควรจะมีคือ Multi-task attitude เปิดประตูแห่งโอกาสให้กว้างทุกบาน พร้อมลอง เรียนรู้และเริ่มลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเป็นจุดเด่นของคนรุ่นใหม่ที่กล้าคิดกล้าทำอยู่แล้ว แต่ได้ทำอย่างเดียวไม่พอ จะต้องทำให้ได้ด้วย ต้องมีความอดทน มีจิตใจที่มั่นคงและไม่ล้มเลิกง่ายๆ จึงจะมีความยั่งยืนในสายอาชีพ
คุณไวธยางค์ กุลละวณิชย์
Managing Director, PTT International Trading Pte., Ltd.
ยังจำได้ว่าตอนที่ผมเรียนจบใหม่ ๆ และเพิ่งเริ่มชีวิตการทำงาน เป็นช่วงที่มีแต่สิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต มีทั้งงานที่สนุก ท้าทาย งานโรงงานที่ต้องติดต่อประสานงานกับคนจำนวนมาก งานเอกสารที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น จดบันทึกประชุม การจัดเอกสารต่างๆ งานระบบ งานวิเคราะห์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งพอทำงานได้สักระยะ ก็จะเริ่มรู้ว่าในชีวิตการทำงานของเรานั้นมีทั้งงานที่เราชอบและไม่ชอบปะปนอยู่ทุกวัน ต้องแก้ปัญหายากบ้าง ง่ายบ้าง ปัญหาคน ปัญหาเครื่องจักร ต้องทำงานคนเดียว ทำงานเป็นทีม สารพัดเรื่อง
สิ่งที่สำคัญในชีวิตการทำงาน คือเราต้องรัก ต้องชอบในงานที่เราทำ หากเรารักงานที่เราทำ ผลงานก็จะออกมาดี ความเจริญก้าวหน้าก็จะตามมา รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น เราก็จะมีความสุข ทั้งนี้ ความสำเร็จไม่สามารถทำได้ภายในวันเดียว ต้องอดทน งานทุกอย่างที่เราทำจะสอนเรา สะสมเป็นประสบการณ์ ผมเชื่อว่าทุกคนมีความเก่ง ความถนัดในงานอยู่ในตัว แต่เราต้องเป็นคนดีด้วย กล้าที่จะตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ท้ายที่สุดก็ต้องรักษาสมดุลของชีวิตให้ดี ทั้งงาน ครอบครัว สังคม ชีวิตส่วนตัว ความสำเร็จก็จะตามมาในที่สุด
คุณพรเลิศ ประวิชไพบูลย์
Associate Director, Jardine Lloyd Thompson PCS Ptd. Ltd.
In school, your challenge is mainly “one dimensional”, that is to focus on your grade and excel.
In working life, you need to be aware of many other aspects such as interpersonal skill, supervisor and subordinate management, peer management, and how the others perceive you to be.
คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง
เจ้าของเพจ nuttaputch.com
หางานที่ทำให้เราเก่งได้มากขึ้น ไม่ใช่มองแค่เรื่องสบาย
เมื่อชีวิตที่เข้าสู่การต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเอง เรื่องของรายได้จึงมักเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ในการเลือกงาน บ้างก็อยากได้งานที่สบาย ไม่ต้องเหนื่อยมาก แต่ในความจริงแล้ว สิ่งที่หลายๆ คนลืมมองไปคือหลาย ๆ งานอาจจะทำให้เรา “สบาย” ก็จริง แต่จะกลายเป็นว่าจะมีปัญหาในระยะยาวเมื่ออายุงานกับความสามารถเราไม่สัมพันธ์กัน กล่าวคือพออายุมากขึ้น หลายคนกลายเป็นคนที่ไม่ได้มีความสามารถที่โดดเด่น แถมในขณะเดียวกันก็เจอคนรุ่นใหม่ที่ตามมาทีหลังขึ้นมาแข่งขันและสุดท้ายก็จะอยู่อย่างลำบากขึ้นเรื่อยๆ
การหางานที่ทำให้เราเก่งเร็ว อาจจะเป็นการลงทุนที่ดูจะเหนื่อยในช่วงแรก เพราะทำให้เราต้องใช้พลังของคนที่อายุยังไม่เยอะพอสมควร เช่น การทำงานที่หนัก ต้องรีดเร้นศักยภาพมาเยอะ ๆ การเจองานที่ทำให้ต้องพบกับความผิดหวัง พบกับแรงเสียดทาน แต่ทั้งหมดนี้คือการลับคมตัวเราเองให้แข็งแกร่งขึ้น เชี่ยวชาญและมีความสามารถมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นรากฐานที่ทำให้เราสามารถยืนหยัดได้ในระยะยาว เช่นเดียวกับที่จะสามารถต่อยอต่อไปได้อีกเยอะนั่นเอง
Joanna Miller
Head of Market HR Singapore, Indonesia and Thailand, American Express
Be open to new experiences. You may think you know what you want or enjoy doing, but by being open to new experiences, you may discover new things about what you like. Also, always think about building positive relationships. You never know when you’ll be working with someone again in the future, or what capacity!
คุณปกรณ์พงษ์ อรรถบท
OD and Change Management Director, ThaiNamthip Ltd.
ในการเตรียมความพร้อม เข้าสู่ชีวิตการทำงาน สิ่งแรกที่แนะนำเมื่อเข้าไปในองค์กรก็คือ การทำความเข้าใจกระบวนธุรกิจในภาพรวมขององค์กรตั้งแต่ต้นยันจบโดยรวมอย่างไรบ้าง ประโยชน์ของการเข้าใจกระบวนธุรกิจจะทำให้เราสามารถเข้าใจว่างานที่เราเข้าไปรับผิดชอบส่งผลต่อความสำเร็จต่อธุรกิจอย่างไร และสามารถเชื่อมโยงความรับผิดชอบที่เราทำกับเกี่ยวข้องก่อนได้ สรุปง่าย ๆ คือถ้าเราไม่เข้าใจภาพรวม กระบวนธุรกิจ เราก็ไม่สามารถทำงานของเราให้ดีได้
นอกจากความเข้าใจในกระบวนธุรกิจแล้ว สิ่งที่สองที่น้องๆ ต้องเข้าใจคือ เข้าใจงานที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานหรือพี่เลี้ยงในกระบวนการ Onboarding ที่จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจงานและบริบทหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Context) ในหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้น้องๆ สามารถส่งมอบผลงานที่ดีได้อย่างราบรื่น
ข้อสำคัญคือเรียนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้จักนำความรู้มาปรับใช้กับงานที่ทำ และปรับวิธีการทำงานให้เข้ากับบริบทขององค์กรด้วย
เรื่องที่สามคือเรื่องของภาวะผู้นำ (Leadership) ซึ่งในบางสถานการณ์เราต้องเป็นผู้นำที่ดี ในทางตรงกันข้าม บางสถานการณ์เราก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดีเช่นเดียวกัน คำว่าภาวะผู้นำ แบ่งออกได้ง่ายๆ สองแบบด้วยกัน แบบแรกคือการนำทีมงาน (Leading Team) ซึ่งเมื่อน้องๆ โตขึ้นก็จะมีโอกาสที่จะพัฒนาเองในการที่จะเป็นผู้นำทีม แต่สิ่งที่สำคัญเป็นพื้นฐานของทุกคนก็คือการนำตนเอง หรือการจัดการตัวเอง (Self-Management) คือการแสดงความรับผิดชอบหรือ Accountabilty ในงานรับผิดชอบงานของตนเองโดยไม่มีใครจำเป็นต้องมาคอยสั่งหรือคอยติดตาม และมีความพยายามในการพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นยิ่งขึ้นหรือพัฒนาตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในอนาคตของทุกคน
คุณนภัส ศิริวรางกูร
Leadership Practice Lead, Aon Hewitt Thailand
ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา จากการดิฉันได้รับฟังแนวคิดจากผู้ที่สำเร็จในชีวิตหลายท่าน ได้อ่านหนังสือที่ยอดเยี่ยมหลายเล่ม ดิฉันค้นพบข้อคิดที่มีค่า และเปลี่ยนชีวิตของดิฉันไปจากที่เคยเป็น ดิฉันตระหนักถึงความสำคัญของการถามตัวเองถึงโจทย์ชีวิต ชีวิตที่อยากจะใช้ และบังเอิญที่เมื่อวันก่อนคุณชัชพลได้ขอให้ดิฉันแลกเปลี่ยมมุมมองว่า หากจะให้ Career Advice ซัก 1 อย่าง กับน้อง ๆ ที่จบใหม่ ดิฉันจะแนะนำอะไร แน่นอนคะ สิ่งที่ดิฉันอยากจะแนะนำน้อง ๆ หรือแม้กระทั่งลูกสาวของตัวเอง ดิฉันก็จะให้เขาตั้งโจทย์ชีวิตของตัวเองให้ชัด โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง 2-3 ข้อ (ดิฉันเชื่อว่า คำถามที่ดี สำคัญกว่าคำตอบที่เยี่ยม) โดยเริ่มจาก
1) คุณอยากจะใช้ชีวิตแบบไหน (What live you want to live?) อยากมี Lifestyle แบบไหน เลิกถามว่า อยากจะเป็นอะไร (What would you like to be?)
2) ความหมายของ “ความสำเร็จในชีวิต” ของคุณคืออะไร
3) งาน หรือสิ่งที่จะนำพาให้คุณ ตอบโจทย์ข้อ 1 และ 2 มีอะไรบ้าง คำถามเหล่านี้ดูเรียบง่าย และเรามันจะเห็นคำถามเหล่านี้บ่อย ๆ แต่บนความเรียบง่าย หลายคนกลับไม่สามารถหาคำตอบให้กับตัวเองได้ แม้จะทำงานมาร่วมหลายสิบปี
อยากให้เริ่มถามคำถาม 3 ข้อนี้กับตัวเอง ตั้งแต่ตอนนี้ และยึดมั่นกับคำตอบ น้อง ๆ จะค้นพบเองว่า ตัวเองได้เริ่มต้น Journey ของการทำงานที่จะพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จแล้ว อย่าเพิ่งเริ่มอะไร โดยปราศจากการตั้งคำถามเหล่านี้
คุณวีระ เจียรนัยพานิชย์
Vice President : Head of SME Network Marketing Development, Kasikorn Bank
ตอนทำงานใหม่ ๆ อย่ามั่วนั่งอวดรู้ว่าเรารู้อะไรมา แต่จงมุ่งมันหาว่าเรายังไม่รู้อะไรที่จะใช้ในการทำงาน
คนจะเก่งในการทำงาน ขึ้นกับว่าเค้าได้เรียนรู้ได้สัมผัสกับตัวจริงมากน้อยแค่ไหน จงรีบมองหา ต้นแบบบุคคลขององค์กรนั้น ๆ เพื่อขอคำปรึกษา ศึกษานิสัยวิธีการทำงานและการใช้ชีวิต เพื่อเราจะได้ดำเนินตาม
ทำให้ “การเรียนรู้เป็นงานอดิเรก” ที่สำคัญของชีวิต ได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับงานที่ทำมากกว่าเมื่อวานนี้
“สร้างความรู้มือหนึ่ง” วิธีการทำงานให้สำเร็จในแบบฉบับของเราให้ได้
คุณเมษ์ ศรีพัฒนาสกุล
CEO / Founder, LUKKID Co., Ltd. and Asian Leadership Academy
เส้นทางสู่ความสำเร็จในอาชีพไม่ได้เป็น “เส้นตรง”
แต่เป็นเส้นทางที่วกไปวนมา บางคนก็เจอทางขรุขระ บางคนก็เจอทางตัน
ลองเยอะ ๆ ล้มเยอะ ๆ ทำของเราไป อย่าไปเปรียบเทียบกับใคร เรียนรู้และพัฒนาไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวเราก็จะเจอทางของเราเอง
คุณจักรพงษ์ คงมาลัย
Managing Director, Moonshot Co., Ltd.
ตอนจบใหม่ ๆ ผมเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่รู้ตัวว่าหลงไหลอะไร ผมเลยคิดแบบเด็ก ๆ ว่าชอบอะไรก็ทำไปก่อน ผมชอบอ่านชอบเขียน เลยเริ่มอาชีพจากการเป็นนักข่าว ไม่ได้สนใจเรื่องเงินทำมาหาเลี้ยงชีพเลย รู้แต่ว่าต้องทำหน้าที่ตัวเองให้ดี วัน ๆ ก็เขียนหนังสืออย่างเดียว
ผ่านไปหลายปี ผมพบว่าผมเขียนเรื่องราวขอคนอื่นไปนับร้อยนับพันเรื่อง แต่ไม่เคยมีเรื่องของตัวเองเลย ทำอย่างไรถึงจะมีคนอื่นเขียนถึงความสำเร็จของผมบ้าง พอคิดได้แบบนี้ก็เลยเปลี่ยนสายงานจากนักข่าวมาเป็นนักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ ท้ายที่สุดผมก็พบว่าเส้นทางอาชีพของผมมีเส้นประบาง ๆ เชื่อมระหว่างอาชีพ “นักข่าว” และ “นักการตลาด” ในแบบของ Content Marketer
แต่ถามว่าถ้าหากจะมีคำแนะนำสักอย่างเดียวที่ผมจะบอกกับนักศึกษาจบใหม่ ผมจะบอกว่าอย่าเพียงแต่ “ทำงาน” อย่างเดียว ผมจะบอกให้นักศึกษาคนนั้น “พัฒนาความสัมพันธ์” กับผู้คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน จากนั้นให้นำความสัมพันธ์ดังกล่าวไปเฟ้นหาที่ปรึกษาสักคนที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะของคุณในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น soft หรือ hard skills
สรุปคือ เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของคนอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะคุณทุกคนอยู่ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารแทบทุกอย่างรอให้คุณไปค้นหาบนโลกออนไลน์ อยู่ที่คุณจะดั้นด้นค้นหามัน แล้วนำมาลงมือทำให้เวิร์คจริง ๆ หรือเปล่าเท่านั้นเอง
คุณเบญจมาศ ต้องประสิทธิ์
Director, Tsuruha (Thailand) Co.,Ltd.
สำหรับคนที่เริ่มทำงาน อยากให้พิจารณาปัจจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดโอกาสพนักงานได้แสดงความคิดเห็น นำเสนอ ทดลองทำ และมีหัวหน้างานหรือพี่เลี้ยงที่ช่วยประคองหรือชี้แนะ มากกว่าการมองเพียงที่จำนวนเงินเดือนที่ได้
เพราะโอกาสเหล่านี้จะเป็นเหมือนสปริงบอร์ดให้พนักงานเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ได้รับจึงอาจมากกว่าการจ่ายเงินหลักแสน หลักล้านไปเรียน MBA ด้วยซ้ำ
ดร.หฤษฎ์ อินทะกนก, ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เจ้าของเพจ Dr. Sun
ในฐานะอาจารย์คนหนึ่ง คำถามที่ผมได้รับบ่อยที่สุดในกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ คือ “เรียนจบแล้ว ทำอะไรไปไหนยังไงกับชีวิตต่อดี…” และทุกครั้งที่ผมให้คำปรึกษากับลูกศิษย์ที่เพิ่งจบใหม่นั้น… ผมจะใช้ตรรกะที่ว่า “ถ้าผมสามารถเดินทางย้อนเวลากลับไปได้ ในวันที่ผมเพิ่งจบการศึกษาปริญญาตรี… ผมจะบอกตัวเองว่าอย่างไร…” ซึ่งผมคงจะบอกให้ตัวเอง “ตามหาฝัน…” โดยมีแบ่งเป็นข้อๆ ตามนี้ครับ…
หนึ่ง… “Find Your Passion” จงใช้เวลา และพลังทั้งหมดที่คุณมีในการค้นหา “สิ่งที่คุณชอบ และหลงไหล“ / “Your Passion” เป็นสิ่งที่คุณคิดว่าคุณจะสามารถอยู่กับมันได้ทั้งชีวิตอย่างมีความสุข…
สอง… “Get Rid of Your Fear” จงก้าวข้ามความกลัว หรือคำว่า “ทำไม่ได้” เพราะอุปสรรคสำคัญที่สุดของการประสบความสำเร็จ คือ ความกลัว…
สาม… “Pursuit Your Passion” จงใช้ทุกลมหายใจที่เหลืออยู่ ค้นหาหนทางที่จะไปให้ถึงสิ่งที่คุณต้องการ… แม้ว่าแรงกดดันจากคนรอบกาย (โดยเฉพาะจากคุณพ่อคุณแม่) จะมากมายเพียงใด… การเดินตามความฝันของคนอื่น มันไม่สนุกนักหรอกครับ…
สี่… “Live Life to the Full” จงใช้เงินที่คุณหามาได้ “ซื้อประสบการณ์ ไม่ใช่สิ่งของ”… เพราะสิ่งของนั้นจะจากคุณไป แต่ประสบการณ์จะอยู่กับคุณตลอดไป… เมื่อคนพูด คุณฟัง… เมื่อคนนั่ง คุณลุก… และเมื่อคนเดิน คุณวิ่ง… ใช้ชีวิตให้เหมือนทุกวันเป็นวันสุดท้าย…
ดังนั้น สำหรับผมแล้ว… คำตอบของคำถามที่ว่า “เรียนจบแล้ว ทำอะไรไปไหนยังไงกับชีวิตต่อดี” คือ… ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ถ้าคุณยึดหลักสี่ข้อนี้… ผมเชื่อว่าคุณคงจะไม่ห่างไกลจาก “ความสำเร็จ” แน่นอนครับ…
คุณพัชมน ปัญโญสุข
Deputy General Manager, HR&A Department, Hanon Systems (Thailand) Co.,Ltd.
คนเก่ง (Knowledge & Skills) บริษัทสร้างได้ แต่คนดี (Attitude & Thinking way) และ คนกล้า (Behavior) คุณต้องสร้างตัวคุณเองขึ้นมา
คุณรณพงศ์ คำนวณทิพย์
Managing Director, Universal Music (Thailand) Ltd.
อย่าเกี่ยงงาน เมื่อได้รับมอบหมายงานใดก็ตามขอให้ทำให้เต็มที่ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเพื่อนร่วมงาน ฝึกการมี Integrity คือมีสัจจะ รักษาคำพูดของตัวเอง โดยมากคนทำงานที่เพิ่งจบมาใหม่ ๆ จะได้รับมอบหมายงานด้านปฏิบัติการซึ่งไม่ซับซ้อน หากทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จ ให้อาสาถามหัวหน้างานเลยว่ามีอะไรให้ช่วยอีกหรือไม่
คนที่มีความรับผิดชอบ มีทัศนคติที่ดี ทำเพื่อทีมงานและสังคมส่วนรวมเท่านั้น ที่จะได้รับการมอบหมายงานที่ใหญ่ขึ้น มีความรับผิดชอบสูงขึ้น ช่วงเริ่มต้นชีวิตการทำงาน คือช่วงของการเรียนรู้ มีปัญหาอะไรให้สื่อสารกับหัวหน้างาน สงสัยอะไรให้รีบถาม หัดตั้งคำถามที่ท้าทายอย่างเช่น เราจะทำงานนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร? ฉันจะช่วยองค์กรนี้ได้อย่างไรอีกบ้าง? ทำแบบนี้ได้ดีแน่นอนครับ
คุณอภิชาติ ขันธวิธิ
เจ้าของเพจ HR – The Next Gen
คนเราจะเป็นแฟนกันได้ แปลว่าสองฝ่านตัดสินใจเลือกและคิดแล้วว่าคนนี้แหละที่เราอยากอยู่ด้วย ศีลเสมอกัน คิดอะไรคล้าย ๆ กัน อาจจะมีขัดแย้งกันบ้างระหว่างทาง แต่ปลายทางก็น่าจะมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน คนที่จะมาเป็นแฟนเรา อาจจะไม่จำเป็นต้องสวยที่ 1 ต้องหล่อที่สุด แต่เป็นคนที่เหมาะกับเราที่สุดต่างหาก
หางานก็เหมือนหาแฟน บางคนอาจจะได้งานที่ทุกคนอิจฉา แต่พออยู่ ๆ ไปก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับเรา ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลาออกงานที่ทุกคนอิจฉานั้นมา หรือกระทั่งเรามั่นใจว่าเราเก่งมาก เก่งที่สุดในรุ่น เก่งกว่าทุกคนที่มาลงแข่ง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าคนที่ถูกเลือกไม่ใช่เรา
ถ้าเราไม่ได้งาน ไม่ได้แปลว่าเราไม่เก่ง แค่แปลว่าเราไม่เหมาะก็เท่านั้นเอง
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์