เรื่องการศึกษาเป็นหัวข้อที่ตัวผมเองให้ความสำคัญมาก เมื่อพี่กระทิงจัดงาน Education Disruption Conference 2018 จึงไม่อยากพลาดโอกาสที่จะเปิดมุมมองตัวเองด้วย ยิ่งได้เห็น agenda ที่น่าสนใจทั้งวัน แต่ด้วยความรับผิดชอบ ทำให้มาร่วมงานได้ช่วงหลังเบรคตอนบ่าย แต่กระนั้นก็ยังได้ความรู้ และมุมมองใหม่ๆ กลับไปไม่น้อยจากงาน
ผมสรุป takeaway มาฝากเผื่อเป็นประโยชน์กับคนที่ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมงาน โดยเขียนเป็นข้อๆ จากสิ่งที่ผมฟังบวกการตีความส่วนตัวในแต่ละช่วงที่ผมฟัง ถ้าจะเข้าใจผิดจากคนพูดอย่างไร ก็ให้เป็นที่การตีความผิดของผมเองนะครับ
Disrupting and Driving Efficiency in School Operation by Mr. Wicharn Manawanitjarern, CEO of Taamkru
- งานหลายๆ อย่างของคุณครูเช่น การตรวจข้อสอบ หรือการเช็คชื่อนักเรียน เป็นงานที่ซ้ำซ้อน กินเวลามาก แถมยังไม่มีประสิทธิภาพจาก human error อีกด้วย
- การใช้ technology เข้ามาช่วยสามารถ free up เวลาของคุณครูได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และลดความซ้ำซ้อน และความผิดพลาดของงานได้ดีมาก
Technology for All: Bridging Technology Skill Gaps in the Age of Digital Disruption by Mr. Viroj “Ta” Chiraphadhanakul, Founder of Skooldio
- Lifelong Learning เป็นสิ่งที่สำคัญในยุค Digital Disruption เพราะทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นเร็วกว่าที่จะรอหลักสูตร รอตำรา แล้วเรียนในห้องเรียน
- ในแต่ละช่วงชีวิต การเรียนรู้ก็แตกต่างกัน
- Freshman + Sophomores – Career Awareness เริ่มทำความรู้จักว่าอาชีพต่างๆ มีอะไรบ้าง
- Juniors + Seniors – Career Ready เตรียมความพร้อมด้านทักษะสำหรับการทำงาน
- New Hires – On boarding เข้าใจทักษะ และวัฒนธรรมที่เฉพาะของแต่ละองค์กรที่ทำงานด้วย
- Staff – Reskill เรียนรู้ทักษะใหม่ที่จำเป็นกับการทำงาน
- Executives – Envision วางแผนสำหรับทักษะใหม่ที่จำเป็นในอนาคต
- นายจ้างในปัจจุบัน และอนาคตต้องการคนที่มีความรู้ และทักษะที่ตรงกับลักษณะงาน ทำให้เราจะเริ่มเห็นบางองค์กรขนาดใหญ่ออกแบบหลักสูตร โดยร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาคนที่มีทักษะตรงความความต้องการ โดยไม่เน้นว่าต้องเรียนจบด้านไหน หรือที่ไหนมา
- หาจุดร่วมระหว่างคนที่มีความพร้อมทั้งทักษะและการเรียนรู้ เทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุน และธุรกิจที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน
The pursuit of lifetime employability in the disruptive world by Mr. Titipong Pisitwuttinan, CEO of SkillLane
- ถ้าระเบิดนิวเคลียร์ลง ระหว่างช้าง กับแมลงสาบ สัตว์ที่จะอยู่รอดไม่ใช่สัตว์ใหญ่อย่างช้าง แต่เป็นแมลงสาบที่สามารถปรับตัวได้
- แม้บริษัทจะพยายามสนับสนุนการเรียนรู้การศึกษาให้เหมาะกับคนทำงาน และทักษะที่ต้องใช้มากขึ้น แต่สุดท้ายตัวพนักงาน หรือตัวเราเองคือคนที่จะต้อง own lifetime employability
- career path ที่องค์กรเตรียมให้ อาจไม่เหมาะกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน พนักงานควรสร้าง self career management และขวนขวายหาความรู้จากสิ่งที่บริษัทเตรียมให้เช่น company academy หรือจากภายนอกบริษัทด้วยตัวเอง
- หมดยุคที่พนักงานจะรอให้บริษัท / สังคม / ประเทศ ป้อนทักษะที่ตลาดต้องการแล้ว
Creating Teacher of Tomorrow by Miss Viria Vichit-Vadakan, CSO of Learn Corporation
- ปัญหาของระบบการศึกษาปัจจุบันไม่ใช่ความผิดของใคร เพียงแต่เป็นระบบที่ตอบโจทย์ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 200 ปีก่อน ที่ต้องผลิตแรงงานออกมาเป็น batch ที่มีทักษะเหมือนๆ กันจำนวนมากเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
- มอง Problem ให้เป็น Possibilities
- ในยุค digital เราต้องการระบบการศึกษา และคุณครูที่เข้าใจถึงความหลากหลาย และพัฒนาเด็กขึ้นมาแตกต่างกัน
- คุณครู ควรเปลี่ยนบทบาทจาก Lecturer เป็น
- Invovator
- Designer
- Coach
- Facilitator
- Digital enabler
Panel of Thai EdTech Startups
- ความต่างของการศึกษาต่างประเทศ คือการให้อิสระในการเรียนรู้ และให้โอกาสนักศึกษา explore และ experience วิชาที่น่าสนใจก่อนจะเลือกสาขาที่เรียน
- การจะแก้ปัญหาการศึกษาควรมองทั้งระบบ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาของระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นส่วนน้อยของระบบการศึกษาภาพรวม
- การออกแบบระบบการศึกษา ควรใช้จุดแข็งของแต่ละภาคส่วน มากกว่าต่างคนต่างทำ สุดท้ายก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ได้แก้ในภาพกลยุทธ์ประเทศ
- Education Disruption ไม่ใช่การเอา AI หรือ Machine มาแทนครู แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพ และการเข้าถึงคนส่วนใหญ่
- เทคโนโลยีเป็น key leverage ในการแก้ปัญหาการเลื่อมล้ำของการศึกษาได้ดี
Riding Out The Tsunami Waves – Learning Strategy To Thrive in The Age of Digital Disruption by Mr. Krating Poonpol, CEO of Disrupt
- สึนามิของ Digital Disruption ที่เราคิดว่าอีกไกล จริงๆ แล้วกำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเราไม่ปรับตัวก็จะถูกคลื่นกลืนหายไปอย่างรวดเร็ว
- แต่ถ้าเราขี่คลื่น Digital Disruption ได้ ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีที่สุด
- การมีเป้าหมาย Moonshot ไม่พอยุคปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีที่ดีสุด เทียบกับอดีตไม่รู้กี่เท่า ถ้าอยากคิดใหญ่ต้องมองไกลแบบ Marshot
- วิวัฒนาการความรู้ของคนที่จะประสบความสำเร็จ
- I รู้ลึก รู้จริงเพียงเรื่องเดียว
- T รู้ลึก รู้จริงเพียงเรื่องเดียว แต่เรื่องอื่นก็พอรู้บ้าง
- Y รู้ลึก รู้จริงเรื่องเดียว เรื่องอื่นๆก็ต้องรู้ลึกพอสมควร
- M รู้ลึกมากกว่าหนึ่งด้าน ในขณะเดียวก็รู้เรื่องอื่นๆ ที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกันด้วย
- มองความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้ (Learn) ไม่ใช่ ‘ล้ม’ (Lom)
- อย่าไปแข่งกับ Machine ในสิ่งที่ Machine ทำได้ดี เพราะยังไงเราก็ทำดี และมีประสิทธิภาพสู้ Machine ไม่ได้
- ลักษณะงานในอนาคตต้องต่อยอด ใช้จุดแข็งของมนุษย์ผนวกกับจุดแข็งของ machine เป็นรูปแบบของ hybrid
- ลงทุนในการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง อย่างน้อย 20% เพื่อสร้าง learning path และอนาคตของตัวเอง
- แทนที่จะพยายาม ‘แก้’ ปัญหา ลอง ‘เล่น’ กับปัญหาดู เมื่อเรามีเวลาเล่น และเข้าใจปัญหามากขึ้น สุดท้ายคำตอบจะออกมาง่ายขึ้น
- เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทดลองผิดพลาดให้เข้าใจ ก่อนจะใช้ Machine หรือเทคโนโลยีเพื่อช่วยขยาย capability เพื่อให้เราแก้ปัญหาและสร้าง impact ให้ใหญ่ขึ้น
- แทนที่จะหมดหวังเมื่อเจอทางตัน ลองถาม What if? เพื่อหาทางเลือกที่เป็นไปได้ใหม่ๆ
- Empathy, Relationship, Curiosity เป็นทักษะที่จำเป็น และสำคัญมากในอนาคต
สุดท้ายต้องขอขอบคุณพี่กระทิง และทีมจัดงานทุกท่านที่สร้าง Event ดีๆ แบบนี้เพื่อจุดประกาย และต่อยอดเพื่อการศึกษาของบ้านเราต่อไปนะครับ
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์