หลังจากที่ Mr. Mark Allin แบ่งปัน Insights from the Global Workforce ในช่วงแรก ก็เป็นช่วงของ Panel โดยตัวแทนจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคธุรกิจ ประกอบด้วย
Panellist
Mr. Ng Cher Pong, Chief Executive, Singapore Workforce Development Agency (WDA)
Mr. Mark Allin, President and CEO, Wiley
Ms. Tricia Duran, HR Director, Unilever Asia
Dr. Winter Nie, Professor of Operations and Service management, IMD
Ms. Wong Su-Yen, CEO, Human Capital Leadership Institute – ผู้ดำเนินรายการ
ประเด็นที่น่าสนใจ
- แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของความต้องการในภาคธุรกิจ
- ภาคธุรกิจให้ความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือใบปริญญาน้อยลง และเพิ่มความสำคัญเรื่อง Competency มากขึ้น
- จาก technical skills สู่ soft skills เพราะ technical skills หลายอย่างหุ่นยนต์เริ่มทดแทนได้
- การเรียนรู้แบบอัดแน่นก่อนทำงาน (front-load) มาเป็นการศึกษาแบบต่อเนื่อง จากสถาบันการศึกษา ต่อมายังที่ทำงาน
- เทคโนโลยีเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปได้
- ภาครัฐของสิงคโปร์พยายามผลักดัน SkillsFuture เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตให้กับคนสิงคโปร์
[youtube id=”rdBobyZLl7M”]
- สิ่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการจากส่งเสริมในเรื่อง SkillsFuture ประกอบด้วย
- ขยายทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นกับการทำงาน (broadening skills)
- ดึงภาคอุตสาหกรรมให้มีส่วนร่วม
- พัฒนาความเชี่ยวชาญในแต่ละทักษะ (skill mastery)
- ทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม
- สร้างระบบพื้นฐาน และ Platform สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนสิงคโปร์
- ในมุมภาคธุรกิจ Unilever ยังมองว่าการศึกษา หรือมีใบปริญญายังจำเป็น แต่ลดความสำคัญลง เป็นเพียง checklist ว่ามีก็ผ่าน (screening)
- แทนที่จะดูว่าจบเกรดเท่าไหร่ มหาวิทยาลัยอะไร Unilever มีแผนจะให้ผู้สมัครเล่นเกมออนไลน์แทน โดยแต่ละเกมจะออกแบบมาเพื่อวัดลักษณะ (traits) ที่ต่างกัน แล้วใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ผล ในการคัดผู้สมัคร
- Unilever เน้นเรื่องผลงานมากกว่าระดับการศึกษา โดยเชื่อว่าถ้าได้คนที่ใช่ เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรมา บริษัทสามารถพัฒนาศักยภาพของพนักงานได้
- ในมุมของภาคการศึกษา IMD มองว่าเราอยู่ในยุคที่ทุกอย่างเปลียนเร็วมาก จนสิ่งที่เรียนในห้องเรียนแทบล้าสมัยทันทีเมื่อเรียนจบ
- ในยุค Unknown Era ที่งานในอีกสิบปีข้างหน้า ยังไม่มีปัจจุบัน ด้วยทักษะใหม่ที่ยังไม่เกิด สิ่งที่คุณจะเตรียมตัวได้คือ
- Self awareness เพราะคุณไม่รู้ สิ่งที่คุณไม่รู้ ถ้าไม่เริ่มจากตรงนี้ ก็จะพัฒนาตัวเองต่อไม่ได้
- การเปลี่ยนทัศนคติ (mindset change) กับการทำงานในโลกปัจจุบัน คุณจะมาหวังว่าเรียนจบมาแล้ว ไม่ต้องพัฒนาต่อ ทำงานด้วยความรู้ที่เรียนมาอย่างเดียวแบบในอดีตไม่ได้แล้ว
- ทดลองสิ่งใหม่ ๆ และไม่กลัวความผิดพลาด เพราะเป็นวิธีเดียวที่คุณจะขยายความรู้ และทักษะใหม่ ๆ ในการทำงาน
- Unlearn before relearn แม้เป็นทักษะเดียวกัน แต่เทคโนโลยีพัฒนาอยู่เสมอ ถ้าคุณยังเป็นน้ำเต็มแก้ว ก็ยากที่จะพัฒนาความรู้ได้
- ในยุคที่การคาดการณ์ และวางแผนกลยุทธ์สำหรับอนาคตให้ถูกต้อง แทบเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่องค์กรสามารถทำได้คือการกำหนดและควบคุมวิสัยทัศน์และ คุณค่า (values) ขององค์กร โดยกำหนด 2 อย่างนี้เป็นเหมือน True North ขององค์กร และหาคนที่มีวิสัยทัศน์ และคุณค่าตรงกันมาร่วมงาน
- ภาพตรงนี้จะเปลี่ยนจากที่องค์กรพยายามหาคนเก่งจากทักษะที่ต้องการ มาเป็นคนที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีคุณค่าที่ตรงกับองค์กร (value / culture fit) แทน
- ปัญหาที่องค์กรต้องใส่ใจคือการพัฒนาพนักงานที่อยู่กับองค์กรมานาน และเริ่มอายุมาก (40+ ปี) ว่าจะ retrain และพัฒนาทักษะใหม่อย่างไรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
- ความท้าทายของรัฐคือการทำให้คนที่จบสายอาชีพ ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมในสังคม และตลาดแรงงาน เมื่อเทียบกับคนที่จบมหาวิทยาลัย
- สิ่งที่ทุกคนควรทำ คือ ตั้งคำถามกับระบบ หรือกระบวนการทำงานในปัจจุบัน (challenge the process) เช่น ทำไมองค์กรต้องการหาคนมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ เหมือนคนที่ลาออก มาทำงานในตำแหน่งนั้น? แล้วคนที่มี profile แบบนั้นจะสร้างผลงานให้กับองค์กรได้ดีกว่าคนที่ลาออก? เป็นต้น
แม้จะมีอีกหลายประเด็นที่ผมเก็บรายละเอียดมาไม่หมด แต่เชื่อว่าสิ่งที่ผมแบ่งปันจะช่วยกระตุ้นให้เห็นภาพของการร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศสิงคโปร์ และสะท้อนกลับมาดูการเตรียมทรัพยากรบุคคลของไทย เพื่อแข่งขันในตลาดโลกบ้างนะครับ
________________________________________________________________________________
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามโดนๆ มาช่วยกระตุ้นพลังการทำงานทุกเช้าวันจันทร์