เหตุมันเกิดมาจากความเห็นผมในstatus Facebook และTwitter เรื่องการนิยมความแรงของคนสมัยนี้ แล้วได้การตอบรับดี ทั้งกด Like ทั้งRT เลยคิดว่าเรื่องนี้เราไม่ได้คิดไปเองคนเดียว
จากที่ผมสังเกต ความแรงในการพูดและการแสดงออกของคนในสังคมโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นับวันจะแรงขึ้น ขยายวงกว้างขึ้น และ ที่น่ากลัวคือ
ได้รับการยอมรับ (หรือเคยชิน)กันมากขึ้นด้วย
สำหรับคนที่นึกไม่ออกว่าผมพูดถึงความแรงแบบไหน ผมจะลองยกซักตัวอย่างให้เห็นภาพแล้วกัน…
เหตุการณ์สมมติ
1: ไปร้องเกะคราวนี้จะร้องเพลงอะไรดีนะ? อยากร้องเพลงพี่เบิร์ด อะไร too much very much นะ?
2: ฉันว่าอย่างเธอต้องเพลง คนไม่มีแฟน เท่านั้น… 55+
3: แรงว์อะเธอ
(ทุกคนยกเว้น1หัวเราะชอบใจ)
2: (ทำหน้าภูมิใจประหนึ่งได้โล่ห์)
ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่าก็เฉยๆหนิ ไม่เห็นแรงอะไรเลย แสดงว่าท่านได้ชินกับความแรงระดับนี้ไปแล้ว… – -“
…
ส่วนตัวผมก็ไม่ได้จะบอกว่าคนที่ชอบพูดแรงๆนั้นผิด
แน่นอนว่าเป็นสิทธิ์อันพึงมีของคุณ ที่จะพูดในสิ่งที่คิด(เอ คิดรึปล่าว?)
แต่การเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและความแรง รวมการยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติ ใครๆก็พูดกันทำให้ผมกลับมามองว่าอะไรเป็นสาเหตุได้บ้าง?
แล้วผมก็เจอเต็มๆ!
ถ้าใครดูตัวอย่างหนังตลกไทยช่วงหลังๆที่ชอบทับทม ทั้งหยาบ ทั้งทะลึ่ง หามุกให้แรงขึ้นเรื่อยๆให้คนดูขำ
คนดูก็ขำ ผู้ใหญ่หัวเราะ เด็กเอาอย่าง คิดว่าเท่ และสังคมยอมรับ
นี่ไง(หนึ่งใน)ต้นเหตุความแรงว์!!
หลายคนเลยอยากเอาอย่างบ้าง
อีกสาเหตุหนึ่งคือความรู้สึกว่า แรงแล้วฉันเกิด…
ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายทั้งไทยทั้งเทศ
ยิ่งแรงยิ่งเกิด
รู้สึกว่าเป็นตัวของตัวเอง ใครว่าก็อย่าได้แคร์ ฉันมั่น…
สิ่งที่อยากให้คิดถึงบ้างก่อนพูดหรือทำอะไรแรงๆคือ
1. ความรู้สึกของคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เราไปพาดพิง หรือใช้เล่นมุก (แถวบ้านเรียกหลอกด่า) คิดง่ายๆใจเขาใจเราธรรมดา ว่าถ้าเราโดนพูดอย่างนี้บ้างจะชอบมั้ย?
2.ตัวเอง ถ้าไม่คิดถึงความรู้สึกของคนอื่น ก็คิดถึงอนาคตตัวเองบ้างก็ดีนะ คำพูดที่หลุดออกจากปากเราไปแล้วจะเป็นนายเรา ซึ่งอาจจะกลับมาย้อนกัดเราเมื่อไหร่ก็รู้ แต่กรรมหน่ะมันมีจริงนะ
…
สุดท้าย ส่วนตัวผมยังคิดว่ามารยาทสังคม (หรือสมบัติผู้ดี ถ้าอยากเรียกใ้ห้กระแดะอีกหน่อย) ไม่ได้เป็นสิ่งที่ล้าสมัยหรือเสแสร้งอย่างที่เด็กแรงว์ๆเค้าบอกกัน
แต่ช่วยให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างสงบและมีความสุขมากขึ้นก็เท่านั้นเอง… :)