เห็นชื่อหัวข้ออย่าเพิ่งตกใจว่าอ่านบล็อกหรือวิทยานิพนธ์อยู่กันแน่? (แต่ถ้าจะเอาจริงๆก็เชื่อว่าเป็นหัวข้อThesisได้เลย)
และต้องออกตัวด้วยว่าโพสนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหนังของค่ายGTH ที่เพิ่งเข้าโรง… ^^”
เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจที่สุดที่ผมได้เรียนรู้ระหว่างที่ไปอบรมที่เซี่ยงไฮ้เมื่อเดือนที่แล้ว
ผมเชื่อว่าเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
ต้องเจอกันทุกองค์กรไม่มากก็มากที่สุด :P
ทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ (Inch Worm Theory) นี้ซึ่งคนสอนตั้งเองจากประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปีบอกว่าโดยทั่วไปคนในองค์กรจะแบ่งออกเป็น5กลุ่มและมีการกระจายตัวแบบปกติ (Normal Distribution)
เพื่อให้ง่ายในการอธิบาย ผมขอสมมติให้แกนXแทนตำแหน่งของมาตรฐานการทำงานของคน(ยิ่งขวายิ่งดี มาตรฐานสูง)
และแกนYแทนจำนวนคน
กลุ่มแรกคือคนในสีน้ำเงินทางขวาคือกลุ่มทีีบริษัทชอบมากเพราะมาตรฐานสูง เป็น role model ขององค์กร
กลุ่มต่อมาก็ค่อยๆไล่กันลงมาจากเขียวด้านขวา(เกาะกลุ่มผู้นำ) แดง(คนส่วนใหญ่) เขียวซ้าย(มั่นใจว่าฉันไม่แย่ตราบใดที่ยังมีกลุ่มน้ำเงินทางซ้ายอยู่) และน้ำเงินซ้ายที่ทุกคน(รวมถึงเจ้าตัว)ก็รู้ว่าตัวเองรั้งท้ายในองค์กร
สมมติว่าองค์กรต้องการจะยกมาตรฐานในการทำงานของพนักงานขึ้น (เขยิบไปทางขวา)
ถามว่าองค์กรจะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
ให้เวลาลองคิดดูซักหน่อย แล้วค่อยอ่านต่อ
…
ถามว่าทั้งองค์กรจะปรับตัวไปทางขวาพร้อมๆกัน และยังคงการกระจายตัวแบบปกติอยู่มั้ย?
คำตอบคือ ไม่
การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะเป็นลักษณะของหนอนกระดึ๊บ
ยังไง?
ลองนึกภาพตามดู
กลุ่มแรก(น้ำเงินขวา)ไม่ยาก เป็นกลุ่มแรกที่จะเปลี่ยน คนกลุ่มนี้พร้อมจะพัฒนาตนเอง และเติบโตไปกับบริษัทเสมอ น่าเสียดายที่คนกลุ่มนี้มีไม่เยอะเท่าไหร่
กลุ่มที่สอง (เขียวขวา) ก็ไม่ค่อยยาก เพราะกลุ่มนี้จะเกาะและตามกลุ่มผู้นำ แม้จะช้าบ้าง
กลุ่มที่สาม (แดง) จะยังไม่ปรับในทันที แต่จะมองก่อนว่า ผู้ใหญ่เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงนี้รึป่าว คนส่วนใหญ่ยอมรับและปรับตัวหรือไม่ ถ้าใช่ ก็จะค่อยๆปรับตาม
กลุ่มสุดท้าย (น้ำเงินซ้าย) อย่างที่คาด ฝันไปเถอะถ้าจะให้ปรับ ส่วนใหญ่จะอยู่กับองค์กรไม่ได้ถ้าองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
หัวใจของการบริหารการเปลี่นแปลงอยู่อยู่ที่กลุ่มที่สี่ (เขียวซ้าย)
ทำไม?
ให้ลองคิดดูอีกที
เพราะคนกลุ่มนี้เชื่อว่าัยังไงตัวเองก็ดีกว่ากลุ่มรั้งท้ายขององค์กร(น้ำเงินซ้าย) ตราบใดที่มั่นใจว่ามีคนที่ยังอยู่เหนือกลุ่มสุดท้าย ก็จะไม่ยอมปรับ หรือรับความเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน กลุ่มอื่นโดยเฉพาะกลุ่มคนส่วนใหญ่ในองค์กร(แดง)รู้สึกว่าคนกลุ่มนี้ไม่ต่างกับตัวเอง
ถ้าผู้บริหารสามารถทำให้องค์กรเห็นผ่านกลุ่ม(เขียวซ้าย)ว่า ไม่โอเคกับการไม่ปรับตัว หรือปรับ จะเป็นการกระตุ้นทุกองค์กรโดยเฉพาะคนส่วนใหญ่(แดง)ว่า คนนั้นซึ่งก็มีมาตรฐานไม่ต่างกับเรายังโดน เราคงต้องรีบทำอะไรแล้ว…
แน่นอนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารต้องส่งสัญญาณตรงกัน อย่าให้คนในองค์กร โดยเฉพาะกลุ่มแรกรู้สึกว่า จะเปลี่ยนไปทำไม ในเมื่อเปลี่ยนหรือไม่ก็ไม่ต่างกัน
เพราะเรื่องของคนสนุก(และท้าทาย)อย่างนี้
ผมถึงมีความสุขกับงานที่ทำจริง… ^__^
ป.ล. ชื่อ “ทฤษฏีหนอนกระดึ๊บ” (Inch Worm Theory) เป็นคำแปลของผมเอง
________________________________________________________________________________
ถ้าชอบบทความนี้ คุณอาจจะสนใจ Monday’s Spark with Chutchapol.com ซึ่งผมคัดไอเดียเจ๋งๆ คำถามสั้นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพลังในการทำงานทุกเช้าวันจันทร์